รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ที่สูงอายุ ตามหลักพระธรรมวินัยในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, สุขภาวะองค์รวม, พระสงฆ์ที่สูงอายุ, หลักพระธรรมวินัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ที่สูงอายุในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวคิดเรื่องการพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์ที่สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ที่สูงอายุตามหลักพระธรรมวินัยในจังหวัดชัยภูมิ โดยได้ลงพื้นที่วิจัยเพื่อสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม โดยมีประชากรทั้งหมด 90 รูป/คน เพื่อการรวบรวมข้อมูล แล้วมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการวิจัยตามวัตถุประสงค์
ผลการวิจัยพบว่า
แนวคิดสุขภาวะองค์รวมพระสงฆ์ผู้สูงอายุเป็นการดูแลสุขภาพให้ดี มีความรู้สึกเป็นสุข ความสมดุล และมี 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม ปัญญาหรือจิตวิญญาณที่บูรณาการอยู่ในหลักพระพุทธศาสนา หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมและเกี่ยวข้อง พระสงฆ์ที่สูงอายุสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทำให้เข้าใจและเห็นชีวิตที่มีคุณค่า เพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจให้เกิดความสมดุล
สภาพปัญหาการพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์ที่สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิ มี 4 ประการ คือ 1) สภาพปัญหาสุขภาวะทางกาย ได้แก่ (1) ปัญหาด้านการบริโภค ไม่ได้พิจารณาการฉันอาหาร แล้วส่งผลกระทบต่อร่างกาย (2) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สถานที่ไม่เอื้ออำนวยในการปฏิบัติศาสนกิจ (3) ปัญหาด้านโรคประจำตัว ขาดการระมัดระวังต่อป้องกัน (4) ปัญหาด้านกรรมพันธุ์ เช่น เบาหวาน ภูมิแพ้ เป็นต้น และ (5) ปัญหาด้านสภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงและเสื่อมโทรม 2) สภาพปัญหาสุขภาวะทางจิต ได้แก่ (1) ด้านพฤติกรรม มีความเคยชินเป็นนิสัย (2) ด้านอารมณ์ เกิดจากสติหลงลืมเมื่อมีอารมณ์มากระทบไม่สามารถควบคุมได้ (3) ด้านทัศนคติ ด้านความเห็นหรือขาดความรู้ความเข้าใจ และ (4) ด้านความเครียด เป็นสภาวะหนึ่งที่ส่งผลถึงสภาพจิตใจที่เปลี่ยนแปลง เมื่อพิจารณาไม่ถูกต้อง 3) สภาพปัญหาสุขภาวะทางสังคม ขาดการดูแลตนเอง ขาดความรู้ของการป้องกันโรค และยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 4) สภาพปัญหาสุขภาวะทางปัญญา พระสงฆ์ที่เกิดอาพาธขึ้นโดยไม่ได้พิจารณาที่เป็นองค์ประกอบทำให้เกิดความเสียหายทั้งร่างกาย จิตใจ จนทำให้ไม่เข้าใจและการเข้าถึงความรู้ด้านสุขภาวะ
รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของพระสงฆ์ที่สูงอายุตามหลักพระธรรมวินัยในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมทางกาย พระสงฆ์ต้องปฏิบัติกิจตามหน้าที่ และตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งสามารถปฏิบัติควบคู่กับหลักของพระธรรมวินัยต่าง ๆ (2) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมทางจิต ซึ่งด้านจิตใจพระพุทธศาสนาจะเน้นสภาพจิตที่มีความสงบ คือ ด้านทำสมาธิ เพราะทำให้มีสภาพจิตที่สุขุมนิ่มนวล ด้านปรับอารมณ์ พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะอารมณ์ปัจจุบัน ด้านทัศนคติ พระสงฆ์ต้องมีทัศนคติที่ดี (3) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมทางสังคม การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อได้รับข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ หรือข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ อนามัย พร้อมนำมาปรับแก้ไขทั้งการป้องกัน การตรวจเช็ค และ(4) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมทางปัญญา คุณสมบัติทางกาย ศีล จิต และปัญญาที่ส่งผลไปสู่ภายนอกตน ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ด้วยหลัก ศีล สมาธิ และปัญญาได้
References
ประยงค์ ลิ้มตระกูลและกรรณิกา พงษ์สนิท. (2546). การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชุมชนศรีวิชัยอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเวศ วะสี. (2541). บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพอภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
พระครูอรุณธรรมรังสี (เอี่ยม สิริวณฺโณ). (2560). มนต์พิธี สำหรับพระภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์.
พระพิบูลสินาณวฑฺฒโน (เฉลิมรัตน์). (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก หมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2530). พัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทรพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิรภพ สวนดง. (2560). การสวดมนต์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. รายงานการสืบเนื่องประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติ มจร วิทยาเขตอุบลราชธานี ครั้งที่ 2.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2537). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2537. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
พระครูปลัดพีระพันธ์ ธมฺมวุฑโฒ. (2 มีนาคม 2563). เจ้าอาวาสวัดวังทองสามัคคีธรรม เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
พระสุพจน์ ฐานิสฺสโร. (10 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
พระสุนทรปริยัติกิจ. (2 มีนาคม 2563). เจ้าอาวาสวัดทรงธรรม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
พิสุทธิ์ โพธิ์เกษม. (19 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
มูล เที่ยวประสงค์. (20 มิถุนายน 2563). สัมภาษณ์.
วิลัยวรรณ สวนนคร. (27 มิถุนายน 2563). สัมภาษณ์.
สวิท ประเสริฐพงษ์. (8 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ