ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
ความไว้วางใจทางการเมือง, ประชาชน, นักการเมืองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติตนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลย 3) เพื่อเปรียบเทียบความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น และตามความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติตนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการปฏิบัติตนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบ พบว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความไว้วางใจทางการเมือง ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความไว้วางใจทางการเมือง ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่าประชาชนมีความไว้วางใจทางการเมือง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางในการสร้างความไว้วางใจ พบว่าควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มากกว่าเดิม ควรแจกสิ่งของช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเสมอ และต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
References
กรีฑา คงพยัคฆ์ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 30-31.
ที่ทำการปกครองจังหวัดเลย (2561). ข้อมูลทั่วไปจังหวัด. จังหวัดเลย. https://ww2.loei.go.th/content/general (12 กันยายน 2563).
ธวัลกร บุญศรี. (2557). สื่อที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง: กรณีศึกษา การเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเวทีราชดำเนินในปี 2556. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พระสุนทร ธมฺมวโร (บุญคง). (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเตชินท์ สิทฺธาภฺิภู (ผากา). (2554). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพบูลย์ สุขเจตนี และคณะ. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 234-235.
มัฌสุรีย์ มณีมาศ. (2562). ความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐในสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้: กรณีศึกษาจังหวัดนราธิวาส. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิไลวรรณ พ่วงทอง. (2559). ประสิทธิผลการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และคณะ. (2557). การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามกระบวนทัศน์แห่งการบริหารกิจการสาธารณะแนวใหม่. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. โอเดียนสโตร์: กรุงเทพมหานคร.
สุรินทร์ นิยมางกูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ