รูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เกวลิน จารเทพ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ เทศบาลตำบลปากนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พระมหาสุพจน์ สุเมโธ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • สามิตร อ่อนคง มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหาร, โรงเรียนผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 3 คน สนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน

        ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันในการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขอบข่ายบริหาร 4 ด้าน คือ 1) ด้านกิจกรรม 2) ด้านกรรมการ 3) ด้านกองทุน และ 4) ด้านภาคีเครือข่าย ดำเนินการโดยทุกภาคส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง ในการดำเนินงาน จัดการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุมีความสุข เกิดทักษะในการดูแลตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี

      2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านกิจกรรม คือ กิจกรรมที่จัดขึ้นภายในโรงเรียนให้ความรู้ 3 หมวดวิชา คือ วิชาชีวิต วิชาชีพ วิชาการ,  กิจกรรมที่จัดขึ้นภายนอกโรงเรียน กิจกรรม ศาสนา จิตอาสา การบำเพ็ญประโยชน์ 2) ด้านกรรมการ คือ คณะกรรมการที่ปรึกษา, คณะกรรมการบริหาร 3) ด้านกองทุน คือ แหล่งที่มากองทุน คือ สร้างกองทุนด้วยตนเอง, ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน, ขอรับบริจาค, รายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียนผู้สูงอายุ, วิธีการเข้าถึงแหล่งกองทุน, การใช้ประโยชน์จากแหล่งกองทุน และ 4) ด้านภาคีเครือข่าย คือ ภาคีเครือข่ายทางสังคมภายในกลุ่ม, ภาคีเครือข่ายองค์กรภายนอก โดยมีการตั้งคณะกรรมการกำกับติดตาม ประเมินผลการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. http://www.dop.go.th/ th/know/5/24 (29 กรกฎาคม 2563).

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติจำนวนผู้สูงอายุ. http://www.dop.go.th/th/know/side/ 1/1/275. (29 กรกฎาคม 2563).

กัมปนาท บริบูรณ์. (2562). แนวทางการพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารรามคำแหง, 1(1), 44.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553).แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. โรงพิมเทพเพ็ญวานิสย์,

ดลนภา หงส์ทอง และคณะ. การจัดการความรู้การพัฒนาความเข็มแข็งโรงเรียนผู้สูงอายุวัดร่องห้า. http://www.bcnpy.ac.th/bcnpy/images/files/km/teacher- aug59/revised_16-8-59. (23 ธันวาคม 2563).

ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542.

วรมน เหลืองสังวาล และคณะ. (2562). แนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ โรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). ประชากรสูงวัยและ แนวโน้มในอนาคต. https://intelligence.businesseventsthailand.com/ th/insight/aging-trends-01-th (29 กรกฎาคม 2563).

Rowena Mackean and Abbott Chapman. (2011). Leisure activities as a source of informal learning for older people the role of community-based organisations. Australian Journal of Adult Learning, 51(2), 51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

จารเทพ เ., สุเมโธ พ. ., สมเขาใหญ่ ธ. ., & อ่อนคง ส. . (2021). รูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 159–171. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/247212