รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ 3Rs ของ โรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

ผู้แต่ง

  • มัณฑนฌา ชูโฉม โรงเรียนบ้านวังปลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จังหวัดชุมพร
  • ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • มะลิวัลย์ โยธารักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • พระครูวิจิตรรัตนวัตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหาร, กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อม, หลักการ 3Rs

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ 3Rs และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ 3Rs    ของโรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการศึกษาสภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน สัมภาษณ์เชิงลึกการร่างรูปแบบ จำนวน 3 คน และนำเสนอรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน

        ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งตะโก ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านการทำกิจกรรมบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะที่ดีขึ้น
  2. รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ 3Rs ของโรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งตะโก ประกอบด้วย 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงค์ 4) แนวทางการดำเนินการ 5) การติดตามและประเมินผลที่เป็นไปตามหลักการ 3Rs คือ หลักการที่ 1 Reduce (ใช้น้อย) หลักการที่ 2 Reuse (ใช้ซ้ำ) หลักการที่ 3 Recycle (ใช้แปรรูป)

       3. รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ 3Rs ของโรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 พบว่า การพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ 3Rs เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา Z (H)ero Waste: ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือปฏิบัติการ 3 ใช้ (3Rs) เพื่อจัดการขยะชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นินาท พลเดชและคณะ. (2558). รูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(ฉบับพิเศษ), 305.

บุญเพียง แทบสีและคณะ. (2553). การเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(2), 173.

พิชญา ปิยจันทร์. (2560). สิ่งแวดล้อมศึกษา:กระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำอย่างเท่าเทียม. วารสารสิ่งแวดล้อม, 21(3), 38-42.

มารียัม เจ๊ะเต๊ะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษา โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559-2564.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุมาลี พุ่มภิญโญ และ เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์. (2560). พฤติกรรมในการจัดการขยะของครัวเรือน ตามแนวคิด 3Rs: กรณีศึกษาเทศบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 13(1), 84.

Ahmedul Hye Chowdhury. (2014). Developing 3Rs (Reduce, Reuse and Recycle) Strategy for Waste Management in the Urban Areas of Bangladesh: Socioeconomic and Climate Adoption Mitigation Option. Environmental Science, Toxicology and Food Technology, 5(1), 9-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

ชูโฉม ม., สมเขาใหญ่ ธ. ., โยธารักษ์ ม. ., & พระครูวิจิตรรัตนวัตร. (2021). รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ 3Rs ของ โรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 119–211. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/247291