บทบาทผู้บริหารที่มีต่อแรงจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
คำสำคัญ:
บทบาท, ผู้บริหารสถานศึกษา, ผลงานทางวิชาการ, แรงจูงใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อแรงจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการงานวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 297 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผล ด้านการส่งเสริมเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
- ระดับแรงจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ระดับด้านความต้องการความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความต้องการความเคารพนับถือ
3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อแรงจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการ ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบว่า ตัวแปรมีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด มีจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม, ด้านการเป็นผู้อำนวยความสะดวกและ ด้านการส่งเสริมการพัฒนาครู และบุคลากร ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำผลงาน ทางวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยรวม ได้ร้อยละ 6
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.
กิติ ตยัคคานนท์. (2552). เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: เชษฐสตูดิโอ.
จิรวรรณ ประภานาวิน. (2561). สภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการ จัดการเรียนการสอนของครูระดับประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เทพเทวัญ ศิลาโชติ. (2553). ปัจจัยทางการบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดทำผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
รุจิรา เจียมอมรรัตน์. (2561). การพัฒนาระบบและกลไกการส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วราลักษณ์ จันดี. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐม วิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัลลภา ลออเอี่ยม. (2552). การศึกษาอิทธิพลของบทบาทผูบริหารสถานศึกษาตามการรับรูของครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สายยุธ เหลากิมฮุ้ง. (2557). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งอาจารย์ 3 ของสถานศึกษาที่ทำการสอนในช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดร้อยเอ็ด. พิษณุโลก: โครงการตำรา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริลักษณ์ สุอังคะ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของครูกับประสิทธิ์ผลของโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสนาะ ติเยาว์. (2560). แรงจูงใจกับความสำเร็จในงาน. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์. หลวงพ่อเงินอนุสรณ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุดม ธาระณะ. (2553). บทบาทของผู้บริหารในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ