รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่า แบบบูรณาการ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สรรเพชร เพียรจัด มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จตุพัฒน์ สมัปปิโต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จินตนา วัชรโพธิกร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จารินี ม้าแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชน, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน, อัตลักษณ์พื้นถิ่น, การบูรณาการ

บทคัดย่อ

          ชุดโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อให้เกิดกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ที่เป็นธรรมของผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่าแบบบูรณาการอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นแปรรูปข้าวเม่าแบบบูรณาการ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อให้ได้รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่าแบบบูรณาการของอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) เพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ผลความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชุมชนข้าวเม่าอำเภอนางรองที่เกิดจากการปรับตัวทางการเกษตรเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาข้อมูลในครั้งนี้ คือ แกนนำกลุ่มผู้ผลิตข้าวเม่าจาก 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านบุตาเวสน์ ตำบลหนองกง และหมู่บ้านโคกว่าน หมู่บ้านบุคราม ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมใช้เครื่องมือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์   ทางการตลาดใหม่ คือ ขายแบบของฝาก ขายแบบกิจกรรมทดลองทำ ขายแบบออกร้าน     ทำกินสด ขายออนไลน์ การออกบูธแสดงสินค้าตามงานเทศกาลและงานอีเว้นท์ การเพิ่มช่องทางการจำหน่าย คือ กลยุทธ์การตลาด 6P มาตรฐานผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ พบว่า การควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ลักษณะเนื้อสัมผัส สี กลิ่น รส สิ่งแปลกปลอม วัตถุเจือปนอาหาร บรรจุภัณฑ์ ปริมาณ ข้อมูลฉลากโภชนาการ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชน พบว่า การบูรณาการแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้การบูรณาการศาสตร์วิชาการความรู้จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนจากสถานการณ์ปัญหาของชุมชน โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ในการพัฒนา ผลความเปลี่ยนแปลง  ของเศรษฐกิจชุมชน พบว่า มูลค่าของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 15-28.06% มูลค่าเพิ่มมีดังนี้ ข้าวเม่าตูพอคำมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 136.22% ข้าวเม่าลูกชิ้นมีมูลค่า เพิ่มขึ้น 115.30% ข้าวเม่าคลุกมูลค่ามีเพิ่มขึ้น 107.21% ข้าวเม่าหมี่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 98.31% ข้าวเม่า กระยาสารท มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 88.47% คณะกรรมการกลุ่มเป็นผู้จัดสรรการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

References

จารินี ม้าแก้ว. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นำเยาวชนวิศวกรรมบูรณาการเพื่อการพัฒนาชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 99-115.

จารินี ม้าแก้ว. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวเม่าแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านข้าวเม่าอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ณฐปกรณ์ จันทะปิดตา. (2553). การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่อำเภอ นาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พรรณิภา ซาวคำ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 165-182.

เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจชุมชน เพื่อการพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงประเภทธุรกิจเกษตรของเกษตรกรปลูกมะขามหวานเพื่อการค้า จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์:เพชรบูรณ์.

วิไลวรรณ ทวิชศรี. (2557). อัตลักษณ์ชุมชน: แนวคิดและการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยหลักพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สรรเพชร เพียรจัด. (2562). ภูมิสังคมกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมข้าวเม่าระดับครัวเรือน. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 21(1), 80-91.

สุชาดา คุ้มสลุด. (2560). การศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของสินค้า OTOP ตามแนวคิด OVOP. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 16-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

เพียรจัด ส., สมัปปิโต จ. ., วัชรโพธิกร จ. ., & ม้าแก้ว จ. . (2021). รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่า แบบบูรณาการ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 105–119. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/247443