รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พุฒิพงศ์ นากา โรงเรียนกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, กีฬาฟุตบอล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

          กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอลสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้การฝึกกีฬาฟุตบอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 100 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและสถิติ t-test

       ผลการวิจัยพบว่า

  1. ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.08/93.54 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.8749 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.49                                                                                     
  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอลสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

       4. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เฉลี่ยโดยรวมมีค่าเท่ากับ 4.13 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดัด นาคกระแสร์. (2551). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง กีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียน. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลำพูน เขต 2.

พวงพันธ์ ยศสระ. (2542). การเปรียบเทียบผลของการใช้เทคนิคแม่แบบกับการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลประชาสวรรค์. กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ราชิต ศักดิ์วิเศษ. (2556). การพัฒนาชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(2).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 4) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562. บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.กรุงเทพฯ: 2562.

อภิสิทธิ์ วงศ์สุทธิ์. (2559). ผลการฝึกทักษะการส่งลูกฟุตบอลด้วยข้างเท้าด้านในและหลังเท้าที่มีผลต่อความแม่นยำในการส่งลูกฟุตบอล. สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เอกชัย ถนัดเดินข่าว. (2545). เอกสารประกอบการสอนฟุตบอล 1. สมุทรสาคร: วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17

How to Cite

นากา พ. . (2021). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 255–264. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/247812