ศึกษาวิเคราะห์ระบบเสียงและระบบคำในภาษาของชาวญัฮกุร ในตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ระบบเสียง, ระบบคำ, ภาษาของญัฮกุรบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์ระบบเสียงและระบบคำในภาษาญัฮกุรในตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบคำ ในตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาหมวดคำจากพจนานุกรม 3 ภาษา คือ ญัฮกุร-ไทย-อังกฤษ ของศาสตราจารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ โดยนำคำพื้นฐานไปสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอเชิงพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า
ระบบคำของภาษาญัฮกุรที่พูดในบ้านไร่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เป็นภาษาลักษณะน้ำเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์มีความแตกต่างระหว่างความสั้น-ยาวของสระที่ทำให้คำมีความหมายต่างกัน เป็นคำพยางค์เดียวและคำสองพยางค์ คำหลายพยางค์มีจำนวนน้อยมากในคำสองพยางค์ พยางค์ที่สองจะออกเสียงหนักกว่าพยางค์แรก ภาษาญัฮกุรเป็นภาษาคำโดดมีการคำยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยอีสาน ภาษาถิ่นโคราชมาใช้เป็นบางคำศัพท์ที่มีลักษณะคล้าย ๆ คำซ้ำเป็นจำนวนมาก แต่ความหมายของคำศัพท์คำเดียวกับรูปศัพท์ที่ซ้ำนั้นไม่เกี่ยวข้องกัน คำสองพยางค์ในภาษาญัฮกุร จะประกอบด้วยพยางค์หลัก และพยางค์รอง ซึ่งพยางค์หลักจะอยู่ตอนท้ายของคำพยางค์รองจะอยู่พยางค์แรกของคำเสมอ เช่น /lahuut/ “หญิงสาว” เป็นต้น
References
ฉัตรียา ชูรัตน์. (2553). “รูปแบบระดับเสียงซึ่งได้รับอิทธิพลจากคุณสมบัติน้ำเสียงของ พยัญชนะและสระในภาษาญัฮกุร (ชาวบน)”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ มหาบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์ วิชาภาษาศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2562). จาก "มะนิ่ฮ ญัฮกุร” (ชาวญัฮกุร) สู่การเป็นมอญทวารวดี และกระบวนการคืนความรู้สู่ชุมชนบ้านไร่. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง – สาละวิน, 5(1), 77-78.
พระมหาสุวรรณ์ วงษา. (2543). “การศึกษาคำในภาษาโซ่ ที่บ้านดอนแดง ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม”. ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนันต์ ลิมปคุปตถาวร และคณะ. (2549). ญัฮกุร มอญโบราณแห่งเทพสถิต. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ