ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องปรมัตถสัจจะในพุทธปรัชญาเถรวาท กับอันติมสัจจะในปรัชญาเวทานตะ

ผู้แต่ง

  • พระอธิการพิเนตร อาภากโร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิเชียร ชาบุตรบุญฑริก วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดกิตติ ยุตติธโร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปรมัตถสัจจะ, อันติมสัจจะ, พุทธปรัชญาเถรวาท, ปรัชญาเวทานตะ

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยเรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องปรมัตถสัจจะในพุทธปรัชญาเถรวาทกับอันติมสัจจะในปรัชญาเวทานตะ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปรมัตถสัจจะในพุทธปรัชญาเถรวาท เพื่อศึกษาอันติมสัจจะในปรัชญาพราหมณ์-ฮินดู และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบเรื่องปรมัตถสัจจะในพุทธปรัชญาเถรวาทกับอันติมสัจจะปรัชญาเวทานตะ ผลการศึกษาพบว่า

               ปรมัตถสัจจะหมายถึงความจริงอันเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างแท้จริง ปรมัตถสัจจะในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น มีอยู่ 4 ประการ คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน แต่ปรมัตถสัจจะขั้นสูงสุดเป็นสภาวะความจริงที่เที่ยงแท้เป็นอมตะ คือ พระนิพพาน พระนิพพานในพุทธปรัชญาเถรวาทมีอยู่ 2 ประเภท คือ สปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบความจริงขั้นสูงสุดนี้ โดยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา และการเจริญวิปัสสนา คือ การพิจารณาสิ่งทั้งปวงให้เห็นตามความเป็นจริงในอริยสัจ 4 ดังที่พระพุธเจ้าได้เห็นความเป็นจริงนี้และปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 คือ (1) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ (2) สัมมาสังกัปบะ ความำริชอบ (3) สัมมาวาจา เจรจาชอบ (4) สัมมากัมมันตะ การงานชอบ (5) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ (6) สัมมาวายามะ พยายามชอบ (7) สัมมาสติ ระลึกชอบ และ (8) สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสู่นิพพาน และสัจจะธรรมสูงสุดในพุทธปรัชญาเถรวาท

               ส่วนอันติมสัจจะในปรัชญาเวทานตะนั้น คือ พรหมัน ซึ่งเป็นความจริงสูงสุดที่ดำรงอยู่อย่างเที่ยงแท้และมีสภาวะเป็นอมตะ เป็นที่มาของอาตมันอันดำรงอยู่ในสรรพชีวิตพรหมันในปรัชญาเวทานตะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี 2 ประเภท คือ ปรพรหมัน และอปรพรหมัน ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพรหมันอันเป็นอันติมสัจจะนั้น มีแนวทาง 3 ประการ คือ ภักติโยคะ กรรมโยคะ และญาณโยคะ ภักติโยคะเป็นวิธีการปฏิบัติด้วยศรัทธา ความเชื่อ กรรมโยคะเป็นวิธีการปฎิบัติด้วยการประกอบความดี การทำหน้าที่ตามวรรณะอย่างจริงจัง ส่วนชญาณโยคะเป็นวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพรหมันด้วยญาณคือปัญญาความรู้แจ้ง เมื่อปฏิบัติตามแนวทางทั้ง 3 ประการนี้แล้วก็จะทำให้จิตบริสุทธิ์พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดเข้าสู่โมกษะ คือเข้าถึงพระพรหม ดังนั้นการเข้าถึงโมกษะเป็นการเข้าถึงสัจธรรมสูงสุดของปรัชญาเวทานตะ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กฤษณะ สังคีตทาน. (2541). ภควัท-คีตา. แปล ฉบับเดิม เล่ม 1-2. กรุงเทพมหานคร: สามัคคีสาร.

กีรติ บุญเจือ. (2522). รายงานผลการวิจัยปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2539). ศาสนาปรัชญาประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.

จรูญ วงศ์สายัณห์. (2519). หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์- ฮินดู. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

ไพฑูรย์ พัฒน์ยิ่งใหญ่. (2530). ความคิดสำคัญในปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สมภาร พรมทา. (2547). ภควัทคีตา (บทเพลงแห่งองค์ภควัน). กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

สนั่น ไชยานุกูล. (2519). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมัคร บุราวาส. (2554). ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยาม.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2546). ฮินดู-พุทธจุดยืนที่แตกต่าง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

สุนทร ณ รังษี. (2545). ปรัชญาอินเดีย: ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุนทร ณ รังษี. (2550). พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2524). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

S. Radhakrishnan. (1962). Indian Philosophy. Vols. I. II. 7th ed. London: Geoge Allen & Urwin Ltd.

S. Radhakrishnan. (1997). The Principal Upanisads. New Delhi: Harper Collins Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27