การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • จินดารัตน์ วรยศ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พหุประสาทสัมผัส, ความสามารถในการอ่าน

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัส

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบไปด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัส 2 ขั้นตอน โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ด้วยพหุประสาทสัมผัส 1. การอ่าน กิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 81.75/82.28 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัส มีความสามารถในการอ่าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรีลักษณ์ จิรวิบูลย์. (2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่านตามแนวคิด พหุสัมผัสและแนวคิดสื่อกลางการสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2558). การเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส. สารานุกรมศึกษาศาสตร์, 50(0857-2539), 63-68.

บุญชม ศรีสะอาด, (2545). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาสน์.

บุณฑริก ซื่อสัตย์. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัส เพื่อเสริมสร้างการสำเหนียกรู้เสียงพยัญชนะท้าย สำหรับนักเรียนชาวไทยภูเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระ, กศ.ม. สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประภัสสร ทัศนพงศ์, พจมาน ชำนาญกิจ และ อุษา ปราบหงส์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทยตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางและพหุสัมผัส สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิชชา รุ่งโรจน์อารี. (2558). การพัฒนากิจกรรมฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีนตามแนวคิดพหุสัมผัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครสวรรค์: หจก.ริมปิงการพิมพ์.

สุนทรี ธำรงโสตถิสกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและแนวคิดพหุประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านระดับประถมศึกษา. รายงานการวิจัย. ศูนย์พัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ. อุตรดิตถ์.

สุไปรมา ลีลามณี. (2553). ศึกษาความสามารถในการอ่านคำ และแรงจูงใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้านการอ่าน จากการสอนโดยผสมผสานวิธีโฟนิกซ์ (Phonics) กับวิธีพหุสัมผัส (Multi-Sensory Approach). ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13