การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

ผู้แต่ง

  • ชมภูนุช ลาบึง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทัศนีย์ ชาติไทย สาขาวิชาการประเมินการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นลินี ณ นคร สาขาวิชาการประเมินการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรสถานศึกษา, กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรสถานศึกษา 2) ประเมินกระบวนการของหลักสูตรสถานศึกษา และ 3) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

             ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 89 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 369 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1,200 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. ปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร มีความพร้อมเกี่ยวกับ โครงสร้างของหลักสูตร ครูผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2. กระบวนการของหลักสูตร มีความเหมาะสมเกี่ยวกับ การบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน  3. ประสิทธิผลของหลักสูตร มีการปฏิบัติเกี่ยวกับจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http://www.sansook.ac.th /site/?p=394 (สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2560)

จำเนียร ชูช่วย. (2554). การประเมินหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาลเพชรวิทย์ จังหวัดตาก. ค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดวงฤทัย หวังประสพกลาง. (2557). ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา จังหวัดนครราชสีมา. ค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชรินทร์ สิงห์สรศรี. (2560). อิทธิพลของความรู้พื้นฐานเดิมและบรรยากาศชั้นเรียนที่มี ต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนครปฐม โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ: แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45ก. หมวดที่ 4 หน้า 8-9. https://drive.google.com/file/d/1io9ioK38P_pjWtZBiblus409rEdC24aj /view (สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2553)

มยุรี ฟักฟูม. (2556). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล จังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วันวิสา กองเสน. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภลักษณ์ สถิตไชยนนท์. (2557). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโครงการห้องเรียน พิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kozlow, M.J. & Nay, M.A. (1976). An approach to measuring scientific attitudes. Science Education. 60(2), 147.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-21

How to Cite

ลาบึง ช., ชาติไทย ท. ., & ณ นคร น. . (2022). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7(2), 235–246. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/253503