การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวาปีปทุม

ผู้แต่ง

  • จามจุรี ทุมแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • บรรจง บุรินประโคน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • จำรัส สุขแป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การอ่านจับใจความสำคัญ, การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนวาปีปทุมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus 2) พัฒนาทักษะความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนวาปีปทุมโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus
           กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปีการคึกษา 2565 จำนวน 40 คน วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus จำนวน 4 แผน รวม 8 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ จำนวน 1 ชุด เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
             ผลการวิจัยพบว่า
             การเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนวาปีปทุม ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 มีทักษะความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนวาปีปทุม มีความพึงพอใจที่ดีต่อต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ KWL Plus โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.61)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จิราภรณ์ บุญณรงค์. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค KWL กับวิธีการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนวิชาภาษาไทย. นครปฐม: บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จินดารัตน์ ฉัตรสอน. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL ร่วมกับแบบฝึก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 141-151.

ภัทรนันท์ ศรอินทร์. (2560). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบKWL-Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

ไลวัลย์ สิงห์ซอม. (2555). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาไทยและความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันวิดา กิจเจา และอธิกมาส มากจุ้ย. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STADร่วมกับ เทคนิค KWL Plus. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 1040.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2556). การอ่านจับใจความ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28

How to Cite

ทุมแก้ว จ. ., บุรินประโคน บ. ., & สุขแป จ. . . (2023). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวาปีปทุม. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(2), 52–64. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/263321