แนวทางการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในยุคดิจิทัลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ยุคดิจิทัล, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาการบริหางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) หาแนวทางการพัฒนาการบริหางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวน 318 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบรายคู่โดยใช้วิธีของ Scheffe’ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า สภาพปัจจุบัน เมื่อพิจารณาภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบแนวการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ ตามขนาดสถานศึกษา เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
จิตราพร สุทธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เชาวลิต จินคารัตน์. (2551). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฎฐวิภา คาปันศรี. (2559). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. (2565). นโยบายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. เข้าถึงได้จาก www.brm4.go.th. (สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาชิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อะหมัด หลีสันมะหมัด. (2557). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา อำเภอสิงหนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
โอปอ ยังเหลือ. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับชันประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนชุมชนวัดตะเคียนงามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Watson-Davis, D. (2011). Teacher’s Understanding, Perceptions, and Experiences of Students in Foster Care: A Forgotten Population. Dissertation Abstracts International, 71(3), 107-A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ