การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด

ผู้แต่ง

  • ปวีณ์นุช กุลวรพิสิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศิริพร พึ่งเพ็ชร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์, กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา, เทคนิคเพื่อนคู่คิด

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) เปรียบเทียบทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์เครือข่ายบ้านกรวด 3 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 28 คน ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.39) แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และแบบสอบถามความพึงพอใจการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและแบบกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม
             ผลการวิจัยพบว่า
             1. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ตัวหารร่วมมาก และตัวคูณร่วมน้อย ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
             2. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ตัวหารร่วมมาก และตัวคูณร่วมน้อย ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด คิดเป็นร้อยละ 75.97 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60
             3. ความพึงพอใจทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษณา ทองเกิด และสมจิตรา เรืองศรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาวงกลม ตามขั้นตอนของโพลยาร่วมกับ เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share). วารสารมหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(2), 23-37.

ผกาวดี จันทร์วัฒนพงษ์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยมด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

วรางคณา สำอางค์, พรชัย ทองเจือ และผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 52-61.

วีนัส ชาลี. (2562). แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาและผลที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). ประกาศผล O-NET ปี 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/ (สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566).

สุดารัตน์ คงวิเชียร. (2563). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 497-513.

อุไรวรรณ ปานทโชติ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วารสารคณิตศาสตร์, 3(5), 1-6.

Byerley, R.A. (2002). Using Multimedia and Active Learning Techniques to Energizr: An Introductory Engineering Thermodynamics Class. Frontiers in Education Conference.

National Council of Teachers of Mathematics. (1989). Curriculum and Evaluation Standards for School Mathematics. Retrieved from

http://www.nctm.org/about/related.htm (Accessed 2 February 2023).

Polya, G. (1957). How to Solve It. A New Aspect of Mathematical Method. 2nd Edition, Princeton University Press, Princeton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

How to Cite

กุลวรพิสิษฐ์ ป. ., & พึ่งเพ็ชร์ ศ. . (2023). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(3), 160–172. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/268589