การศึกษาแรงจูงใจและพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ โพธิ์สระ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อมรเทพ วันดี สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจภายนอก, แรงจูงใจภายใน, พฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ และ 2) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกโดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 144 คน และบทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามออนไลน์ (Google Forms Questionnaire) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1) สอบถามข้อมูลทั่วไป 2) สอบถามแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ (แรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน) และ 3) สอบถามพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
             ผลการวิจัยพบว่า
             1. แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษในภาพรวมพบว่าแรงจูงใจภายใน (𝑥̅=3.44±1.09) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าแรงจูงใจภายนอก (𝑥̅=3.28±1.05) ซึ่งปรากฏว่าแรงจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจภายใน คือความสนใจในการท่องเที่ยวต่างประเทศ (𝑥̅=4.08±1.05) ซึ่งอยู่ในระดับมาก และแรงจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจภายนอก คือการเลือกเรียนภาษาอังกฤษเพราะเพื่อน ๆ เลือกเรียน (𝑥̅=2.53±1.04) ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
             2. พฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษในภาพรวมพบว่าค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมที่เหมาะสมในการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ที่ระดับปฏิบัติบางครั้ง (𝑥̅=3.10±0.98) โดยพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การเข้าเรียนวิชาภาษาอังกฤษทุกครั้ง (𝑥̅=3.78±1.05) ซึ่งอยู่ในระดับที่ปฏิบัติบางครั้ง และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ การทบทวนบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเลิกเรียน (𝑥̅=2.63±0.99) ซึ่งอยู่ในระดับที่ปฏิบัติน้อยครั้ง

References

จันทิมา ชุวานนท์, ธญวรรณ กำคำ และชมพูนุท ถาวรวงศ์. (2562). เจตคติและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

จิรายุ สงเคราะห์. (2562). ปัญหาด้านการตอบคำถามครูผู้สอนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. รายงานการวิจัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ดีเด่น เบ็ญฮาวัน. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ถนอมจิตต์ สารอต, พีรดล เพชรานนท์ และชวนิดา สุวานิช. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาพลศึกษาด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 33(3), 39-66.

ทัศนีย์ จันติยะ, สุภิญญา ปัญญาสีห์ และจิราภรณ์ กาแก้ว. (2560). การศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 14: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยภัทร พลับพลา, วิมลรัตน์ จตุรานนท์ และอานนท์ ไชยสุริยา. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(64), 229-238.

วันเพ็ญ ภุมรินทร์ และคณะ. (2563). ทัศนคติในการเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 29-42.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และเครทซี-มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 11-28.

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 138-170.

สำนักงานวิเทศสัมพันธ์. (2566). ประกาศผลการทดสอบภาษาอังกฤษหลังการอบรมสำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1. เข้าถึงได้จาก https://oire.bru.ac.th/2023/07/19/bru-english-test-1-2-07-66/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567).

สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล และศิริโสภา แสนบุญเวช. (2562). การศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (น.33-44). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุพัตรา พรมดำ, ชไมภัค เตชัสอนันต์ และปนันดา เลอเลิศยุติธรรม. (2563). การศึกษาคู่วัจนกรรมในการสนทนาในห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(1), 63-78.

อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย. (2556). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานการวิจัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Education First. (2023). EF English Proficiency Index. Retrieved from https://www.ef.co.th/epi/ (Accessed 10 January 2024).

Oxford, R. L. (2003). Language Learning Styles and Strategies: An Overview. GALA, 1-25.

Ryan, M. R. & Deci, L. E. (2000). Intrinsic and Extrinsic Motivations: Classic Definitions and New Directions. Contemporary Educational Psychology, 25, 54-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26

How to Cite

โพธิ์สระ ส. ., & วันดี อ. . (2024). การศึกษาแรงจูงใจและพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 9(1), 214–227. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/270618