การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบ 4 MAT, การคิดวิเคราะห์, ทักษะทางวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจานลาน เครือข่ายอำเภอพนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดทักษะทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ในการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.39/80.19
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายพนา. (2566). แผนปฏิบัติการกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายพนา. อำนาจเจริญ.
จุฑามาศ แจ่มจำรัส. (2565). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนพล โคตรวิชา. (2565). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องร่างกายของเรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นูรมา อาลี. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีรยาสาสน์.
ระวีพร แสนพยุห์. (2557). การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT. วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 15(1), 163-176.
สุภาพร อุดไชย. (2564). การจัดการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 17(2), 209-224.
สุริยัน เขตบรรจง. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชันโดยวิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 270-286.
สุวารี ศรีอำไพวิวัฒน์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับเทคนิคทีจีที (TGT) ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 12(2), 103-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ