การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการแก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง ไฟฟ้า และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังจากกิจกรรมที่ 1 นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ผ่านตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 86.67 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.53 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก หลังกิจกรรมที่ 2 นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาคิดเป็นร้อยละ 90.00 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.67 อยู่ในเกณฑ์ระดับมากและหลังกิจกรรมที่ 3 นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาคิดเป็นร้อยละ 93.33 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.80 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ (เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จารีพร ผลมูล. (2558). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบ STME สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : กรณีศึกษาชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
จุรีพร หรรษาวงศ์. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชวนิดา สุวานิช. (2560). STEM Education กับการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้นโยบาย 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร, 15(1), 25-26.
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคม แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บอสส์การพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา (ตอนที่ 2): การบูรณาการสะเต็มศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยานเรศวร, 17(2), 201-207.
สุธิดา การีมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 1. นิตยสาร สสวท, 46(209), 25-27.
อภิญญา สิงห์โต. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศ์, 7(7), 387-398.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ