การพัฒนาโปรแกรมนันทนาการโดยใช้กิจกรรมการพนันเป็นฐานเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงวัยในโรงเรียนผู้สูงอายุ : การศึกษาความเป็นไปได้
คำสำคัญ:
โปรแกรมนันทนาการ, การพนัน, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงวัย, โรงเรียนผู้สูงอายุบทคัดย่อ
โรงเรียนผู้สูงอายุถือเป็นรูปแบบกิจกรรมเชิงรุกที่ประสบความสำเร็จในด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมนันทนาการโดยใช้กิจกรรมการพนันเป็นฐานเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงวัยในโรงเรียนผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัยในโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีต่อการใช้โปรแกรมนันทนาการ ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R & D) ในการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นผู้สูงวัยในโรงเรียนผู้สูงอายุดวนใหญ่ร่มโพธิ์ทอง ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน โดยเก็บข้อมูลระหว่าง ตุลาคม-ธันวาคม 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า โดยกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นเวลา 3 เดือน เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที (ทุกวันพุธ สัปดาห์แรกของเดือน) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. โปรแกรมนันทนาการ ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมตัวเลข หรรษา 2) กิจกรรมน้ำเต้า ปู ปลา พาเพลิน 3) กิจกรรมวงล้อ มหัศจรรย์ 4) กิจกรรมสลาก มหาสนุก และ 5) กิจกรรมลูกเต๋า นำโชค ซึ่งผลจากการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ พบว่า ช่วยให้ผู้สูงวัยได้ฝึกการออกกำลังสมอง มีความสนุกสนาน ลดภาวะเครียด และช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีในโรงเรียนผู้สูงอายุ
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัยในโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีต่อการใช้โปรแกรมนันทนาการที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก (=4.42, S.D.=0.81)
References
กนกวรรณ วิลาวัลย์ และเกียรติศักดิ์ สุขเหลือง. (2566). กิจกรรมที่ใช้ห่างไกลภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(6), 371-379.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). โรงเรียนผู้สูงอายุประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 66). เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/5/44 (สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567).
ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และภูเบศร์ นภัทรพิทยาธร. (2564). การดูแลสุขภาพสมองด้วยกิจกรรมนิวโรบิกสำหรับผู้สูงวัย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 22(2), 136-145.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). “ภาวะสมองเสื่อม” ป่วยเพิ่มปีละ 1 แสนราย สถิติชี้ ร้อยละ 50 ของผู้สูงวัย 80 ขึ้นไปมีอาการ. เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=38965 (สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567).
รุ่งนภา อุดมลาภ และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของ ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(3), 103-115.
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ. (2560). การศึกษาสถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนัน ในประเทศไทยประจำปี 2560. รายงานการวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ. (2565). บัญชีรายชื่อโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2565. ศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดศรีสะเกษ.
สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2561). การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 6-14.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2561). สถานการณ์การพนันในผู้สูงวัย พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและนครราชสีมา. รายงานการวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cohen-Mansfield, J., Marx, M. S., Dakheel-Ali, M., Regier, N. G., & Thein, K. (2019). The impact of stimuli on affect in persons with dementia. Journal of Alzheimer's Disease, 67(4), 1345-1356.
Engeström, Y., Miettinen, R., & Punamaki, R.L. (1999). Perspectives on Activity Theory. UK: Cambridge University Press.
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill Book.
Michael, E.C., McCormick, B.P., & Van Puymbroeck, M. (2020). Recreational Therapy: An Introduction. 5th edition. Champaign: Sagamore-Venture.
Rezwan, A.K.M., Hasnat, A., Rafiq, M.G., Ahamed, F., Jahangir, R., & Barua, D. (2022). Patients Satisfaction Level About Physiotherapy Service in Different Rehabilitation Center of Dhaka City-A Cross Sectional Survey Based Study. International Journal of Research Publication and Reviews, 3(6), 2188-2193.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ