การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษายุคใหม่สู่คุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่, คุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษายุคใหม่และคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษายุคใหม่สู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย 3) ทดลองและประเมินรูปแบบ และ 4) ตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จำนวน 98 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษายุคใหม่ของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ การเป็นผู้นำเชิงรุกแบบผู้รับใช้ พัฒนาหลักสูตรอิงฐานสมรรถนะ โครงสร้างและระบบปฎิบัติงานยืดหยุ่น วัฒนธรรมคุณภาพ และ ประเมินการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดคุณค่า ส่วนคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ การศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการ การบรรลุเป้าหมายในบริบทที่เปลี่ยนแปลง และคุณภาพของผู้เรียนยุคใหม่ และ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษายุคใหม่สู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ความคิดรวบยอด ประกอบด้วย หลักการ 3 ด้าน คือ ตระหนักถึงรูปแบบ วางกลยุทธ์การทำงาน และการบริหารการเปลี่ยนแปลง และวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารสถานศึกษายุคใหม่สู่คุณภาพการศึกษา ส่วนที่ 2 แนวทางการบริหารสถานศึกษายุคใหม่ 5 ด้าน เรียกว่า PROCE Model และ ส่วนที่ 3 ตัวชี้วัดความสําเร็จ 4 ด้าน ประกอบด้วย การวาง กลยุทธ์ยุคใหม่ การรองรับการศึกษายุคใหม่ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และพัฒนาคุณภาพการบริหาร
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษายุคใหม่สู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยพบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยูในระดับมากที่สุด
4. ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบการบริหารสถานศึกษายุคใหม่สู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยพบว่า รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติไค-สแควร์และค่าองศาความอิสระ (Chi-Square /df) = 1.265, ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) = 0.07494 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) = 0.98 และ ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณ (RMSEA) = 0.026
References
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2557). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุธาการพิมพ์.
ธงชัย สมบูรณ์. (2567). โลกหลังยุคใหม่ อนาคตทางการศึกษาและปัญญาของชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_783896 (สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2567).
ธรวิรินทร์ จิตรสิงห์. (2565). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาของสภาคริสตจักรในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมคุณธรรมในทศวรรษหน้า (ค.ศ. 2018–2028). วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(1), 305-321.
พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ยงยุทธ สงพะโยม. (2565). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อีเลฟเล่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2564). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล = School Management in Digital Era. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2564). นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษายุคใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 975-984.
สำนักงานพันธกิจการศึกษา สภาคริสตจักรในประเทศไทย. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. เชียงใหม่: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.
อัจฉรา นิยมาภา. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการ: ศักยภาพของผู้บริหารยุคใหม่. บริษัท วิสตาอินเตอร์ปริ้นท์ จำกัด.
Brightside People Team. (2020). เทคนิคติดจรวดสร้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร. เข้าถึงได้จาก https://www.brightsidepeople.com/เทคนิคติดจรวดสร้างการ/ (สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ