การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ความคิดสร้างสรรค์, กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม, วิชาวิทยาการคำนวณบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) ศึกษาระดับคุณภาพของชิ้นงานจากการออกแบบเชิงวิศวกรรม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกมลวิชญ์ศึกษา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินคุณภาพชิ้นงาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test Dependent Samples และ t-test One Sample เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดการประเมินความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบผลกระทบของกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดสร้างสรรค์ วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความคิดสร้างสรรค์ วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ระดับคุณภาพของชิ้นงานจากการออกแบบเชิงวิศวกรรม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า ระดับคุณภาพชิ้นงานกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับดี
References
เกวลี มาหา และทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ. มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ. ราชบุรี.
ณัฐวุฒิ บุ่งง้าว, บุรัสกร พราหมณ์หิรัญ และเทพพร โลมารักษ์. (2566). การพัฒนาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนว สะเต็มศึกษา เรื่อง ความกดอากาศและลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(3), 51-52.
ณัฐวุฒิ อรุณรัตน์. (2561). ผลการใช้กลุ่มสืบสอบร่วมกับเครื่องมือการเรียนรู้ ร่วมกันออนไลน์ด้วยกระบวนการออกแบบวิศวกรรมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะครุศาสตร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปรียา โคตรสำลี. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. คณะครุศาสตร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปรานวดี อุ่นญาติ. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษาตามแนวทางกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับเทคนิคสแคมเปอร์ (SCAMPER) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนวิทยาศาสตร์). คณะศึกษาสตรศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โรงเรียนกมลวิชญ์ศึกษา. (2564). หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พุทธศักราช 2564. นครราชสีมา.
ไพศาล หวังพานิช. (2563). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวัดและประเมินผล. คณะศึกษาสตรศาสตร์: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุวิมล สาสังข์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา. คณะครุศาสตร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา ตางาม และอัญชลี ทองเอม. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. วิทยาลัยครุศาสตร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การคิดเชิงสร้างสรรค์. เข้าถึงได้จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/ document/ocsc-2017-eb13.pdf (สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566).
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2563). ‘เรียนออนไลน์’ แบบไหนเหมาะสำหรับเด็กเล็ก. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/qol/detail/9630000054999 (สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561ก). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาขั้นพื้นฐานวิทยาศาสตร์. กลุ่มมีสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561ข). วิทยาการคำนวณ (Computing science) คืออะไร. เข้าถึงได้จาก https://www. thaiall.com/computingscience (สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566).
National Research Council. (2012). The National Science Education Standard. Washington DC: National Academy Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ