การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเขาสมิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเขาสมิงบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเขาสมิง ใน 5 ด้าน 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การนิเทศการสอน 4) การพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยี และ 5) การวัดและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเขาสมิง จำนวน 169 คน จาก 24 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยพบว่าการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเขาสมิง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดีมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการนิเทศการสอน ส่วนแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ผู้บริหารต้องส่งเสริม 1) การจัดทำหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ทั้งด้านความรู้และคุณธรรม 2) วางแผนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน และแหล่งการเรียนรู้ 3) ให้ความสำคัญแก่การนิเทศภายในอย่างมีคุณภาพ 4) จัดหาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยีทางการให้เพียงพอ 5) ให้ความสำคัญกับการกำกับ ติดตาม และประเมินผล
References
กมลรัตน์ ทิสมบูรณ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดสระแก้ว.(วารสารวิทยาลัยนครราชสีมาปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2560).
จิราภรณ์ มีสง่า. (2561). การศึกษาสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21ของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. , (วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม 2561), มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ชุมศักดิ์ อินทรรักษ์. (2557). การบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา ,(วารสารสุทธิปริทัศน์ ปีที่ : 28 ฉบับที่ : 86 เลขหน้า : 72-97 ปีพ.ศ. : 2557), มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธวัชชัย ธรรมคงทอง. (2555). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอแก่งหาง แมว สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1., (งานนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี.,(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ปนัดดา ศิริพัฒนกุล.(2558). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด.,(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
พรรษมน พินทุสมิต. (2560). การปฏิบัติงานการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี).
มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทศันะของครูผู้สอนเครือข่ายตลิ่งชัน สำนกังานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. (ค้นคว้าอิสระครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).
วรรณกร เรืองกิจ. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1.,(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
วัชรินทร์ ปะนามะเก. (2558). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอวังเวียง จังหวัดเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว., (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสาตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).
วารีรัตน์ แก้วอุไร.(2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูประถมศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน.,(วรสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ : 17 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 27-39 ปีพ.ศ. : 2558), มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิเชียร ยอดจักร์. (2555). การบริหารงานของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.,
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สจีวรรณ ทรรพวสุ และไสว ศิริทองถาวร. (2555). การพัฒนากระบวนการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ. (รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์).
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร.(2561). การพัฒนารูปแบบการประเมินระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้วิธีการประเมินเสริมพลัง.,(วรสารการวิจัยและวัดผล การศึกษา ปีที่ 11ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–เมษายนพ.ศ.2561), มหาวิทยาลัยบูรพา.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน (Classroom Management). กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอด็ดูเคชั่น.
เสาวภา นิสภโกมล.(2558). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาพลเมืองคุณภาพ., (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สุกันยา ดลสถิต. (2556). การบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่มกรุงเทพมหานคร. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุชาติ วิริยะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. (วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด), มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สุทธิลักษณ์ ผูกพัน.(2558). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.(สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา).
สุวรรณ ผ่าโผน. (2559). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอค้อวัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1.,(การค้นคว้าอิสระ, วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา).สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25561 -2564). สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด.
อภิชา พุ่มพวง .(2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).
อมรรัตน์ จินดา. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2.,(วารสารวิชาการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–เมษายน),มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรนิตย์ สุวรรณไตรย์. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. (วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ 10(1) : ม.ค.-มิ.ย. 2558).
Chester, N. M. (2015). An introduction to school administration: Selected reading. New York: Macmillan.
Degree D. (2017). Academic administration of School on The Academic Achievement of Elementary Students. Institute: South Carolina State University.
Eckhant,T.J.(2016). Determining sample Size for research activities.Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Godbey, Ronde, and Thorckmorton. (2012). Interpreting student performance through the use of alternative forms of assessment. Retrieved from http://www.eric.ed.gov/ERICWebPortal/Home.portal
I-Hua Chang. (2019). A study of the relationships, teacher academic optimism and student achievement in Taiwanese elementary schools. https://doi.org/10.1080/13632434.2011.614945
Mattox,D. (2011). Quality assurance and improvement planning in Illinois high school. Retrieved from http://www.lib.umi.com/disscrtations/fullcit/9995664.
Roger D. Goddar. (2014). Academic Emphasis of Urban Elementary Schools and Student Achievement in Reading and Mathematics: A Multilevel Analysis. Research Article https://doi.org/10.1177/00131610021969164
Spence A.C. (2018). A Study of Climate And Achievement Academic administration in Elementary Schools. Institute: University of Virginia.
Wells, L. J. (2011). Essentials of psychological testing (5th ed.). Colorado : Harper Collins.
Washing,A.K. (2010). Educstion Administration : Theory Research and Practice.6 ed. Chicago Illinois: McGraw-Hill Inc.