การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องคำบุพบทในประโยคโดยจัดกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับเทคนิคการโค้ช

ผู้แต่ง

  • นฤมล วัลย์ศรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ศรีสมร พุ่มสะอาด อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ผลการเรียนรู้ คำบุพบท กิจกรรมเชิงรุก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เรื่องคำบุพบทในประโยค โดยจัดกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับเทคนิคการโค้ช เปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับคะแนนของโรงเรียนเท่ากับหรือสูงกว่าร้อยละ70 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเป็นรายบุคคลและทั้งชั้น  และ 3) ศึกษาความสุขในการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับเทคนิคการโค้ช กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร  จำนวน 34 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบ ด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 1 ฉบับ 3) แบบวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนและประเด็นสัมภาษณ์กลุ่มนักเรียน  ผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าสถิติ ที โดย Dependent T-test

          ผลการวิจัยแสดงว่า 1) นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ระดับคะแนนของโรงเรียนร้อยละ 70  2) ผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ 3) นักเรียนมีความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสนุกสนานในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน

References

กำชัย ทองหล่อ. (2557). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

เกศินี ชัยศรี. (2556). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

กาญจนา นาคสกุล. (2556). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรัสดาว อินทรทัศน์. (2554). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เจเนซิส มิเดียคอม.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2551). การจัดการเรียนรู้วรรณกรรมปัจจุบันตามทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้: การสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาท. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิตว์สรณ์ ตรีทยาภูมิ. (2558). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติวรรณ สินธุ์นอก และวิภาวรรณ เติมวัฒนพงศ.(2560). การศึกษาผลที่นักศึกษาได้รับจากการเข้าร่วมกระบวนการโค้ชแบบใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ดวงเดือน ศาสตรภัทร. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิเรก พรสีมา. (2559). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2363-2380.

ทัศน์ธนิต ทองแดง. (2558). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกิจกรรมการสัมภาษณ์ชาวจีนในรายวิชาภาษาจีนชั้นต้น, วารสารวิชาการหาดใหญ่, 15(2), 209-223.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

นิติพงศ์ พิเชฐพันธุ์. (2553). แนวคิดเกี่ยวกับคำบุพบทในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิรมล ชยุตสาหกิจ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยศึกษาซับสนุ่นหนองย่างเสือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

พระยาอุปกิตศิลปะสาร. (2548). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). หลักภาษาไทย. นครศรีธรรมราช. สถาบันราชภัฏ นครศรีธรรมราช.

มันฑนา กัดฟัก, พิสมัย หาญสมบัติ, นิตยา สุวรรณศรี. (2554). การจัดการความรู้และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

มารุต พัฒผล. (2558). รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด, 8(2), 593-611.

วาสนา สิงห์ทองลา. (2561). การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิไลวรรณ เกื้อทาน. (2553). การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

ศูนย์พัฒนาหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ. (2532). ประสิทธิภาพและใช้ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สระแก้ว: มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สมเกียรติ ทานอก และคณะ. (2556). การพัฒนา ครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายทิพย์ แก้วอินทร์. (2548). การเรียนรู้อย่างมี ความสุขกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สาวติรี ลำดับศรี. (2558). การพัฒนาหลักสูตรการ Coaching. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ ลิพ เพรส.

สุทธิพงษ์ สุพรม. (2562). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ศรีษะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้, 10(1), 151-158.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2541). แนวทางการจัดกิจกรรมการสอนภาษาไทยให้กับผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช (2551). สาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2558). การเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

อารีย์ พรหมปลัด. (2561). วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคคำถามตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พัทลุง:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2.

Bigge. (1982 ). Web 2.0, personal learning environments, and the future of learning management systems. Research bulletin, 13(13), 1-13.

Bratton, S. C. (2011). A school-based group play/activity therapy intervention with learning disabled preadolescents exhibiting behavior problems. International Journal of Play Therapy, 12(2), 7.

Hergenhahn and Olson. (1993). Human resource management: Gaining a competitive advantage. New York, NY: McGraw-Hill Education. 20-29.

Hergen Hahn. (1993). A critical examination of the effects of learning management systems on university teaching and learning. Tertiary education and management, 11, 19-36.

John Martlew. (2011). Play in the primary school classroom? The experience of teachers supporting children’s learning through a new pedagogy. Early Years, 31(1), 71-83.

Kristina M. (2011). Role play simulations: The assessment of an active learning technique and comparisons with traditional lectures. Innovative higher education, 21(3), 231-246.

Robin R. Mellecker. (2013). Active learning: Educational experiences enhanced through technology-driven active game play. The Journal of Educational Research, 106(5), 352-359.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-08