ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อร้านยามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คำสำคัญ:
ร้านยา ความพึงพอใจ ความคาดหวัง การสำรวจบทคัดย่อ
ร้านยามีทั้งมิติของสถานบริการสุขภาพ และมิติของธุรกิจผสมผสานกันอยู่ ร้านยาจึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจะทำให้ผู้ดำเนินการร้านยาทราบจุดแข็ง จุดอ่อน หรือจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขในความรู้สึกจากผู้ใช้บริการ ร้านยามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เปิดให้บริการในต้นปี พ.ศ. 2562 แต่ยังไม่เคยสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อร้าน จึงได้จัดทำการศึกษาชิ้นนี้ขึ้นจากกลุ่มตัวอย่าง 300 ราย ที่สุ่มมาโดยสะดวกระหว่าง สิงหาคม 2563 ถึง ตุลาคม 2564 โดยใช้แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ 5 ระดับ ที่วัดความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ ต่อราคา ต่อการจัดจำหน่าย ต่อบุคลากร ต่อลักษณะทางกายภาพของร้าน ต่อกระบวนการในการให้บริการ และต่อผลลัพธ์ภาพรวม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นความถี่ และเป็นร้อยละ รวมทั้งวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นด้านคุณลักษณะต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างกับระดับความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุดและมาก รวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อราคา และต่อลักษณะทางกายภาพของร้านในระดับมากที่สุดและมาก รวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 และมีความพึงพอใจต่อการจัดจำหน่าย ต่อบุคลากร ต่อกระบวนการในการให้บริการ และต่อผลลัพธ์ภาพรวมในระดับมากที่สุดและมาก รวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นด้านคุณลักษณะต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่าง กับระดับความพึงพอใจ การศึกษาชิ้นนี้บ่งชี้เป็นนัยว่าผู้รับผิดชอบดำเนินการร้านมีโอกาสในการพัฒนา-ปรับปรุงปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการให้สูงมากขึ้นได้อีก
References
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชัน จำกัด (มหาชน)
ชานนท์ เรืองรัตน์วณิชยา. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านขายยาที่ส่งผลต่อการซื้อยาและเวชภัณฑ์จากร้านขายยา: กรณีศึกษา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา
ปิยภัสร ธาระวานิช และ ฝันปานขวัญ พัชรอภิธัญญ์. (2562) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าที่มีต่อร้านยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาเปรียบเทียบร้านยาที่มีหลายสาขากับร้านยาทั่วไป ปริญญานิพนธ์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มุจจรินทร์ หาญทรงกณิฏฐ์ และ ชวนชม ธนานิธิศักดิ์ (2564) การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพของงานบริการจากร้านยาคุณภาพประเภทร้านยาเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร โดย
ประยุกต์ใช้ SERVQUAL MODEL วารสารเภสัชกรรมไทย 13(2): 413-420.
รจนา สันติภานุโสภณ วณิชยา เทพสวัสดิ์ ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา (2560) การศึกษาพฤติกรรมการเลือก ร้านขายยาของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการมหาวิทาลัยรัตนบัณฑิต. 12(1): 1-13.
วิวรรธน์ อัครวิเชียร (2557) ร้านยาและการบริบาลผู้ป่วยที่มารับบริการในร้านยา ใน การบริบาลผู้ป่วยเจ็บป่วยเล็กน้อยที่พบบ่อยในร้านยาและหลักฐานเชิงประจักษ์.ขอนแก่น ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา.
ศรัณย์ กอสนาน (2555) บทบาท ลักษณะ และความสามารถของเภสัชกร สำหรับการเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในร้านยา ที่ได้รับการรับรองเป็นร้านยาคุณภาพ. วารสารสถาบันทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 7(2):47 - 52.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). ธุรกิจร้านขายยา 16 กันยายน 2558 สืบค้นเมื่อ มกราคม 2565 จาก https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2016/06/
สุกัญญา ศรสงวนสกุล และ สุมนา ลาภาโรจน์กิจ. (2559). ปัจจัยคุณภาพการบริการมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยา ในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แสงสุข พิทยานุกุล และ ศิริ ชะระอ่ำ (2560) การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคไทย วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 6(2): 135-145.
อนุศรา ธนามี และ นภดล รมโพธิ์. (2558) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านขายยาเอสเอ็มอี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิชญา วงศ์ประทัต สุณี เลิศสินอุดม วิวรรธน์ อัครวิเชียร. (2559). ดัชนีชี้วัดคุณภาพสำหรับร้านยา ศรีนครินทร์เวชสาร. 31(1): 125 – 138.
อิศรา ศิรมณีรัตน์ ณัฐสุภา อาจองค์ ชนวีร์ สุรชาตรี วันนิศา รักษามาตย์. (2560). ความพึงพอใจในการใช้บริการร้านขายยาของประชาชนในเขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 11(3):63-70.
Farris P.W., Bendle N., Pfeifer P.E., & Reibstein D. (2010) Marketing Metrics: The definitive guide to measuring marketing performance 2nd Ed, New Jersey: Pearson Education, Inc. Upper Saddle River.
Daniel W.W., & Cross C.L. (2010). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences 1th Ed. Wiley.
Eckel FM. (2015) The Pharmacist's Expanded Role. Pharmacy Times 81 (10) available at https://www.pharmacytimes.com/view/the-pharmacists-expanded-role: search date: 10 Jan 2022.
Kotler, P. (2003). Marketing management. Millennium Ed. Prentice Hall Inc. New Jersey.
Kotler, P. & Keller, K. (2006). Marketing Management. 12th Edition, Prentice Hall, Upper Saddle River.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สรวิชญ์ อกณิษฐาวงศ์, วิวรรธน์ อัครวิเชียร, วรรณดี แต้โสตถิกุล, ธวัช แต้โสตถิกุล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.