การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เหมาะสมของผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
วิปัสสนากรรมฐาน, ผู้สูงอายุ, จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษากระบวนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของผู้สูงอายุ 2. ศึกษาอารมณ์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของผู้สูงอายุ และ 3. ศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีโดยการให้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นไปตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม จำนวน 18 รูปหรือคน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ 2 พระวิปัสสนาจารย์ และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติกรรมฐานมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ดีขึ้น ตามหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมีสติเข้าถึงธรรมในธรรมคือ ตามความเป็นจริง ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ย่อมทำให้เกิดคุณธรรมข้ออื่นขึ้นในจิต และสามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ในวิถีทางที่ดี ที่ถูกต้อง หมั่นประกอบแต่กรรมดี รู้จักประมาณในการบริโภคปัจจัย 4 2. การกำหนดอารมณ์กรรมฐานนั้น เป็นสภาวธรรมในขณะเดินจงกรมรู้สภาวธรรม อาการเดิน แข็ง ตึง หย่อน ในท่าทางที่เดิน สภาวการเป็นจริงที่ปรากฏรู้สึก คือ จิตสัมผัสว่า ร้อน เย็น สบาย ไม่สบาย รู้กายที่นั่งว่านั่งอย่างไร รู้สภาวธรรมที่กายใจอย่างวางเฉย การปฏิบัติวิปัสสนาตามขั้นตอน เห็นสภาวของทวารทั้ง 6 ในของขณะการเดินจงกรม และการนั่งสมาธินั้น และ 3. การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานช่วยการจัดการชีวิตให้เป็นระบบมากขึ้น ให้มีสมาธิกับสิ่งที่ทำอยู่กับปัจจุบันได้นานไม่วอกแวกไปกับสิ่งรอบข้าง ก่อให้เกิดความร่าเริงแจ่มใสได้ จะต้องปราศจากความทุกข์ ไม่มีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำให้เกิดความร่าเริงสดใสได้
References
พระชัยรักษ์ ผาสุกวิหาโร. (2562). ศึกษาปัจจัยความสำเร็จการปฏิบัติธรรมของศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณัง เลณัง เฉลิมราช. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 8(2), 9-17.
พระบุญจันทร์ คุตฺตจิตฺโต. (2561). ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสอนกรรมฐานตามสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ิตธมฺโม). วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(1), 24-36.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธวิธีการสอน (พิมพ์ครั้ง 18). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2535). ธรรมปริทรรศน์ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์สุขภาพจิต 6. (2563). สรุปรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
อัญชลี จตุรานน. (2559). ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 7(2), 72-80.