ผลของการสอนโดยการกำหนดรหัสสีร่วมกับเทคนิคการจำ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่ประสมด้วยสระ 2 รูป ของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ3 ก่อนและหลังการสอนโดยการกำหนดรหัสสีร่วมกับเทคนิคการจำ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนที่มีความภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ได้ผ่านการคัดกรอง โดยใช้แบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้และออทิซึม (KUS-SI Rating Scales) กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนวัดเสาธง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เลือกมาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกจากนักเรียนที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันคือมีความสับสนในลำดับการเขียนรูปสระที่สะกดด้วยสระ 2 รูป และผ่านการทดสอบตาบอดสี จำนวน 2 คน เป็นนักเรียนหญิง 1 คน นักเรียนชาย 1 คน ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเล็ก (Small n Experimental Research Design) ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลอง โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที รวม 15 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดอุปกรณ์การสอนสำหรับครู 2) ชุดอุปกรณ์การเรียนสำหรับนักเรียน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 15 แผน 4) แบบประเมินความสามารถในการเขียนสะกดคำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า ความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้หลังจากได้รับการสอน สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการสอนโดยการกำหนดรหัสสีร่วมกับเทคนิคการจำ
THE USE OF COLOR CODE TOGETHER WITH THE LOCI METHOD TO IMPROVE THE ABILITY REGARDING WRITTEN THAI SPELLING OF STUDENTS WITH
LEARNING DISABILITIES
The purpose of this research was to compare the ability of Thai-spelling in written form before and after teaching the use of color coded together with Loci method for students with learning disability. The participants of the study were 2 students who need academic help suggested by KUS-SI Rating Scales assessment. The students, aged 10 and 8 years old, were studying in the Second Semester of the academic year 2014 in Watsaotong School. The research method was Small n Experimental Research Design. The experiment lasted for 5 weeks (15 sessions, 45 minutes in each session, 3 days a week). The research equipment’s consisted of the following; the teaching kit for the teacher, the learning kits for the students, 15 lesson plans, and the assessment forms
Result of the research indicated that the ability of Thai-spelling in written form of students with learning disability was improved after the use of color coded together with Loci method.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.