รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการแก้ปัญหา ด้านการให้เหตุผล และด้านการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์: ผลสะท้อนจากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (A LEARNING MODEL BASED ON TRANSFER OF LEARNING APPROACH TO ENHANCE PROCESSES IN PROBLEM SOLVING, REASONING AND CONNECTIONS: REFLECTIONS FROM THE STATE OF MATHEMATICS LEARNING MANAGEMENT FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTS)

Main Article Content

อัมพร พรมลี (Amporn Promlee)
จำลอง วงษ์ประเสริฐ (Jomlong Vongprasert)
มนตรี ทองมูล (Montri Tongmoon)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูที่สอนนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 จำนวน 150 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบ่งตามความคิดเห็นของครูผู้สอน 5 ด้าน ได้แก่ ครู นักเรียน การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ส่วนผลการศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบปัญหาที่มีอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ นักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล ส่วนด้านครูพบปัญหาในระดับน้อย 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการแก้ปัญหา ด้านการให้เหตุผลของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ผู้วิจัยนำผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วยแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ การส่งเสริมทักษะด้านการแก้ปัญหา ด้านการให้เหตุผล และด้านการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ องค์ประกอบของการรู้คณิตศาสตร์มาสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ผลการวิจัย ปรากฏว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ ขั้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการใช้ความรู้ และสะท้อนการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย
ขั้นการออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในบริบทที่แตกต่างจากเดิม ขั้นการตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เรียน รูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวพร้อมทั้งทั้งคู่มือการใช้รูปแบบ ชุดฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบ ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณานวัตกรรมและรับรองรูปแบบการเรียนรู้


A LEARNING MODEL BASED ON TRANSFER OF LEARNING APPROACH TO ENHANCE PROCESSES IN PROBLEM SOLVING, REASONING AND CONNECTIONS: REFLECTIONS FROM THE STATE OF MATHEMATICS LEARNING MANAGEMENT FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTS


The purposes of this research were to 1) study the state of mathematic learning management. The sample were 150 five grade teacher under the Office of Primary Education Yasothon Service Area 1, obtained by stratified random sampling. The instrument was a questionnaire on the mathematic learning management with .94 reliability coefficient. Statistics for data analysis were the mean, and standard deviation. The results showed the four aspects of mathematic learning management, namely teacher, students, learning activities, learning materials, and measurement and evaluation.Regarding problems in mathematic learning management, the problems on students, learning activities, learning materials, and measurement and evaluation were reported at the moderate level, while problems on teacher was at the low level, and 2) develop a Learning Model Based on Transfer of Learning Approach to Enhance Processes in Problem Solving, Reasoning and Connections: Reflections from the State of Mathematics Learning Management for Primary School Students. The results showed that the developed learning model comprised 4 stages: 1) creating of learning experiences, 2) practicing of obtained knowledge, 3) transferring to application, and 4) reflecting and looking back. The model together with its manual, practice math skills, lesson plans and a test on mathematic literacy were considered by 5 experts.


 

Article Details

How to Cite
(Amporn Promlee) อ. พ., (Jomlong Vongprasert) จ. ว., & (Montri Tongmoon) ม. ท. (2018). รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการแก้ปัญหา ด้านการให้เหตุผล และด้านการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์: ผลสะท้อนจากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (A LEARNING MODEL BASED ON TRANSFER OF LEARNING APPROACH TO ENHANCE PROCESSES IN PROBLEM SOLVING, REASONING AND CONNECTIONS: REFLECTIONS FROM THE STATE OF MATHEMATICS LEARNING MANAGEMENT FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTS). Journal of Education and Innovation, 21(1), 332–344. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70787
Section
Research Articles

References

Adam, S., Ellis C., & Beeson, F. (1977). Teaching mathematics with emphasis on the diagnostic approach. New York: Harper and Row.
Gagne, Robert M. (1970). The conditions of learning. New York: Holt Rinehart and Winston.
Haskell, R. E., & Robert, E. (2001). Transfer of learning: Cognition, instruction and reasoning. UK: Academic Press.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2007). Mathematical skills and processes. Bangkok: IPST. [in Thai]
Makanong, A. (2003). Mathematics: Teaching and learning. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Makanong, A. (2005). The development of mathematical skills and processes in mathematics. Bangkok: Borpit Printing. [in Thai]
Ministry of Education. (2008). Indicators and summary core mathematics following the basic education core curriculum B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]
Ministry of Education. (2008). The basic education core curriculum B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]
Office of Basic Education Commission. (2010). Changes and educational development in Asia-Pacific: Trends and Issues. Bangkok: Funny Publishing. [in Thai]
Raknak, N. (2009). Development of an instructional model based on the transfer of learning approach to enhance mathematical skills and processes in problem solving, reasoning, and connections of seventh grade students (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Schunk, D. H. (1991). Learning theories and educational perspective. New York: Merill.