การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการทำผ้าลายเขียนเทียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ชาดา กลิ่นเจริญ
จารุชา ธนิศาเดชาภัค

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม การทำผ้าลายเขียนเทียนที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้หลักสูตรระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการฝึกอบรม และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำผ้าลายเขียนเทียนก่อนและหลังการฝึกอบรมตลอดจนประเมินความพึงพอใจหลังฝึกกิจกรรมตามหลักสูตร การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมผ้าลายเขียนเทียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และปราชญ์ชาวบ้าน ด้วยการสัมภาษณ์

ขั้นตอนที่ 2 สร้างและหาคุณภาพของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำผ้าลายเขียนเทียน การทำผ้าลายเขียนเทียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการปฏิบัติการทำผ้าลายเขียนเทียน โดยได้ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร จำนวน 3 ท่าน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X})

ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมผ้าลายเขียนเทียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166 ตำบลป่ากลาง จังหวัดน่าน จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบที (T-test Dependent)

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X})


ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการฝึกอบรม

นักเรียนเกี่ยวกับการทำผ้าลายเขียนเทียนเพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่

2. หลักสูตรมีคุณภาพ อยู่ในระดับดี (\inline \bar{X}= 4.37)

3. ความรู้และความสามารถในการฝึกปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรฝึกอบรมผ้าลายเขียนเทียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X}= 3.60)

คำสำคัญ : หลักสูตรฝึกอบรม

 

Abstract

The purpose of this research were

1. to construct quality of training curriculum Pha Lai Kian Tian making by local wisdom for Prathom Suksa 6 students. 2. to compare knowledge and ability on Pha Lai Kian Tian making by local wisdom between before and after training. 3. to evaluate after training satisfaction. This research has 4 stages research methodology.

Stage 1: to study the fundamental data for develop training curriculum Pha Lai Kian Tian making by local wisdom from community leaders, student’s guardian and local philosopher by using interview form.

Stage 2: to create and assess quality of training curriculum which contain; fundamental knowledge about Pha Lai Kian Tian making by local wisdom and operate techniques in Pha Lai Kian Tian making by 3 of experts in curriculum. The statistic was percentage and mean (\inline \bar{X}).

Stage 3: to experiment training curriculum Pha Lai Kian Tian making by local wisdom with 30 Prathom Suksa 6 students at Paklang Mittrapab 166 School, Paklang district, Nan province. The statistic was data analyzed by t-Test Dependent.

Stage 4: to study student’s satisfaction after using training curriculum. The statistic was percentage and mean (\inline \bar{X}).

The result of this research found that:

1. The community leaders, student’s guardian and local philosopher have agreement to training student about Pha Lai Kian Tian making for preserve local wisdom.

2. The curriculum quality has good level (\inline \bar{X}= 4.37).

3. The student’s knowledge and ability after training is higher than before training by significantly at .01level.

4. The student’s satisfaction after training is high level (\inline \bar{X}= 3.60).

Article Details

How to Cite
กลิ่นเจริญ ช., & ธนิศาเดชาภัค จ. (2013). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการทำผ้าลายเขียนเทียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education and Innovation, 12(3), 133–138. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9305
Section
Research Articles