การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ปพิชญา ปานใจ (Papitchaya Panjai)
อังคณา อ่อนธานี (Angkana Onthanee)

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยดำเนินกระบวนการวิจัยและพัฒนา ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L ผู้วิจัยดำเนินการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-Lเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ อัตราส่วนหลายๆ จำนวน สัดส่วน และร้อยละ แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค
K-W-D-L จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L และแบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย
ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านหินดาตราษฎร์บำรุง สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้สถิติทดสอบ t-test ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นตอนดังนี้ขั้นที่ 1 K (What we know) นักเรียนรู้อะไร หรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบ ขั้นที่ 2 W (What we want to know) โจทย์ต้องการทราบอะไร ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) แสดงวิธีทำอย่างไรขั้นที่ 4 L (What we learned) คำตอบที่ได้จากโจทย์ปัญหา มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.55, S.D. = 0.52) และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.74 คิดเป็นร้อยละ 74
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ไขโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการประเมินผลในภาพรวมอยู่ในระดับความพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.92, S.D. = 0.25)

Article Details

How to Cite
(Papitchaya Panjai) ป. ป., & (Angkana Onthanee) อ. อ. (2018). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of Education and Innovation, 19(4), 157–171. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/108438
บท
บทความวิจัย

References

Department of Curriculum and Instruction. (2545). A handbook of learning management in mathematics learning area. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)
Kongsak, S. (2007). A comparative study of learning outcomes on mathematic problem solving of times of fourth grade students taught by K W D L technique and ISPT approach (Master thesis). Nakhon Pathom: Silpakorn University. (in Thai)
Makanong, A. (2006). A development of mathematics process and skills. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Maranet, T. (2009). Achievement of an application K-W-D-L technique into teaching a topic of basic data analysis in measuring of position and dispersion of mathayomsuksa V students. (Master thesis). Bangkok: King Mongkut's University of Technology Thonburi. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). The basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (in Thai)
Pattiyathanee, S. (2003). Educational measurement (4th ed.). Kalasin: Prasarn Printing. (in Thai)
Punsrijarernchai, S. (2006). Activities for developing mathematical process skills. IPST Magazine, 34(144), 42-44. (in Thai)
Saiyod, L, & Saiyod, A. (2000). Learning measurement techniques (2nd ed.). Bangkok: Suweeriyasarn. (in Thai)
Samrej, J. (2008). The effect of learning on mathematics ability in communication through student team – achievement division (STAD) with K W D L technique of Mathayomsuksa VI students with different learning abilities (Master thesis). Nakhon Pathom: Silpakorn University. (in Thai)
Sangkulab, N. (2004). A comparative study of learning outcome on mathematics problem solving of decimal and percentage of fifth grade students taught by KWDL technique and IPST approach (Master thesis). Nakhon Pathom: Silpakorn University. (in Thai)
Somchai, B. (1994). Computer assisted instruction. Bangkok: SE-Education Public Company. (in Thai)
Srisa-ard, B. (2002). Introduction of research (7th ed.). Bangkok: Suweeriyasarn. (in Thai)
Teerasarn, S. (2004). The development of computer assisted instruction lesson on computer topic, occupation and technology learning area in the fourth education level. (Independent study). Maha Sarakham: Mahasarakham University. (in Thai)
The National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2013). O-net test
B.E. 2556 (2013). Retrieved January 16, 2015, from http://www.tlcthai.com (in Thai)