การพัฒนาชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

พานทอง มูลบัวภา (Pantong Moonboupha)
อาพัทธ์ เตียวตระกูล (Arphat Tiaotakul)
อังคณา อ่อนธานี (Angkana Onthanee)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อทดลองใช้ชุด การสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และศึกษาผลการใช้ด้วยชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดย 2.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง 2.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการสร้างความรู้ เรื่อง เลขยกกำลัง ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 4 ชุด รวมทั้งหมดจำนวน 14 ชั่วโมง แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยาคม ครั้งที่ 1 กับนักเรียนจำนวน 3 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของภาษา เวลา และสื่อชุดการสร้างความรู้ ครั้งที่ 2 กับนักเรียนจำนวน 9 คน และครั้งที่ 3 กับนักเรียนจำนวน 40 คน เพื่อหาประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบประเมินความเหมาะสมของชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งการเรียนรู้
3) ฐานความช่วยเหลือ 4) การร่วมมือกันแก้ปัญหา 5) การโค้ช โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประเมินว่าชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีความเหมาะสมระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.46, S.D. = 0.48) และเมื่อนำไปทดลองใช้ พบว่า ชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีประสิทธิภาพด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เท่ากับ 78.04/84.81 และมีประสิทธิภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง เท่ากับ 78.49/84.00
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง หลังเรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัค ติวิสต์ ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
(Pantong Moonboupha) พ. ม., (Arphat Tiaotakul) อ. เ., & (Angkana Onthanee) อ. อ. (2018). การพัฒนาชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Education and Innovation, 19(4), 172–187. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/108442
บท
บทความวิจัย

References

Akaram, S. (2006). The development of learning activities based on constructivist theory for teaching triangles to grade-5 student (Master thesis). Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Brahmawong, C. (2002). A teaching document in the topic of learning media at elementary level unit 8-15 (20th ed.). Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Chaijaroen, S. (2008). Education technology: Principles theories to practices. Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2008). Mathematic process skills. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai)
Katejam, K., & Nakchan, L. (2009). The development of web-based instruction on basic academic program by using constructivism theory for Mathayomsuksa 2 (Independent study). Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). The basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (in Thai)
National Institute of Educational Testing Service. (2014). O-net of mathayomsuksa III result: the mean score of eight subjects less than half. Retrieved March 21, 2014, from www.niets.or.th (in Thai)
Pratoomkam, A. (2010). The result of conducting mathematical learning activities based on constructivist theory for developing the problem solving process skill on the topic of area for Prathom Suksa 4 (Master thesis). Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai)
Saiyod, L., & Saiyod, A. (1995). Measurement and evaluation learning techniques. Bangkok: Suweeriyasarn. (in Thai)
Srisa-ard, B. (2553). Basic research (8th ed.). Bangkok: Suweeriyasarn. (in Thai)
Wilson, J. W. (1988). Evaluation in secondary school mathematics handbook on formative and summative evaluation of classroom learning. New York: McGraw-Hill.