การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการเปลี่ยนแปลงมโนมติ เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์

Main Article Content

กานต์กนิษฐ์ ส้มเพ็ชร์
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
จินตนา กล่ำเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการเปลี่ยนแปลงมโนมติเพื่อพัฒนามโนมติและการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 โดยดำเนินวิจัยเป็นวงจร PAOR ตามแนวคิดของ Kemmis ที่ต่อเนื่องกัน 3 วงจรปฏิบัติการ มีการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือแบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ หลังจากนั้นนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีสามเส้า จากผลการวิเคราะห์พบแนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการเปลี่ยนแปลงมโนมติเพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้ 1) ใช้คำถามในใบกิจกรรมที่ได้ทบทวนมโนมติเดิม และต้องมีความเกี่ยวข้องกับมโนมติใหม่ 2) ตั้งคำถามมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนมโนมติของนักเรียน และ 3) สถานการณ์ปัญหาควรมีความน่าสนใจและอยู่ในธีมเดียวกันทั้ง 3 วงจร ซึ่งจากการใช้วิธีการดังกล่าวทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์อยู่ในระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ และมีการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anuworrachai, S. (2010). Effects of biology instruction using the argument-given inquiry instructional model in ability in scientific explanation making and rationality of upper secondary school students (Master thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Bao, L., et al. (2009). Learning and scientific reasoning. Science Magazine, 323(5914), 586-587.

Chaisatit, N. (2012). Conceptual change and the motivational beliefs on cell division of Mathayomsuksa IV students using conceptual change strategies (Master thesis). Khon Kaen: Khon Kaen University. [in Thai]

Chanunan, S. (2014). Writing for science learning: Theoretical criticism and its practical implication for classroom uses. Journal of Education Naresuan University, 16(4), 200-211. [in Thai]

Kijkuakul, S. (2014). Instruction for science: A guide for the 21st century. Phetchabun: Juldis Printing. [in Thai]

Laohapaiboon, P. (1999). Science teaching. Bangkok: Thai Wattanapanich Printing. [in Thai]

Lawson, M. (2009) Understanding and treating children who experience interpersonal maltreatment: Empirical findings. Journal of Counseling & Development, 87(2), 204–215.

Martin, F., Tanja, D. B., & Ilka, P. (2006). Results of an interview study as basis for the development of stepped supporting tools for stoichiometric problems. Available from http://www.rsc.org/images/Fach%20paper%20final_tcm18-76278.pdf

Mungsing, W. (1993). Students' alternative conceptions about genetics and the use of teaching straegies for conceptual change Wancharee Mungsing (Master thesis) U.S.A.: University of Alberta.

Sukkho, S. (2013). Effect of the using conceptual change teaching strategy on conceptual understanding in radioactivity and nuclear energy topics for Matayomsuksa IV students (Master thesis). Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2011). Research report on TIMSS 2011 in science. Retrieved October 31, 2016, from http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/timss2011-science-report [in Thai]