การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ของนิสิตการศึกษาศาสตรบัณฑิต (ครู 5 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (A DEVELOPMENT OF COACHING MODEL TO ENHANC ENGLISH COMMUNICATION SKILL OF EDUCATION STUDENTS’ SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY)

Main Article Content

ลัดดา หวังภาษิต (Ladda Wangphasit)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของนิสิตการศึกษาศาสตรบัณฑิต (ครู 5 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ด้วยการวิจัยและพัฒนา โดยวิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยต่างๆ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เกี่ยวข้องในด้านการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ได้องค์ประกอบข้อมูลพื้นฐานและกรอบแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพจริง ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการโค้ชและเครื่องมือประกอบรูปแบบการโค้ชโดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการโค้ชโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทำการศึกษานำร่องกับนิสิตชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (ED 201) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 29 คนระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษโดยใช้แบบแผนการทดลอง One group Pretest - Posttest Design เป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (ED 201) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ๆ ละ 5 คาบ รวมทั้งสิ้น 60 คาบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย Dependent t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบการโค้ชที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ของนิสิตการศึกษาศาสตรบัณฑิต (ครู 5 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความเข้าใจ (Understanding) ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนร่วมกัน (Co- creation) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกฝน (Practicing) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอ (Presentation) ขั้นที่ 5 ขั้นให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) และพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนรวมของทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษทั้งทักษะในการถ่ายทอดข้อมูลเพื่อการสื่อสาร (Productive Skill) และทักษะในการรับข้อมูลเพื่อการสื่อสาร (Receptive Skill) ของนิสิตกลุ่มตัวอย่างหลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่า หลังทดลองใช้รูปแบบการโค้ชที่เสริมสร้างทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alan, Liz Brown, & Jill Jameson. (2012). The Role of Coaching in Vocational Education and Training. London: n.p.
David P. Diaz, & Ryan B. Cartnal. (1999). Students' learning styles in two classes: Online distance learning and equivalent on-campus. College Teaching, 47(4), 130-135, DOI: 10.1080/87567559909595802
Deborah A. O’Neil, & Magaret M. Hopkins. (2002). The teacher as coach approach. Journal of Management Education, August, 49-64.
Farrow, Tom F. D., & Woodruff, Peter W. R. (2007). Empathy in mental illness. Cambridge: Cambridge University Press.
George Yule. (2014). The study of language (5th ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Joyce, B., & Showers, B. (2002). Student achievement through staff development. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.
Karen Ayas. (2011). Project – based learning: Building communities of reflective practitioners. Sage Journals, 32(March), 61-67.
Otto, Sharmer. (2010). U Theory. Washington: National Academies Press
Phyllis C. Blumenfeld, Elliot Soloway, Ronald W. Marx, Joseph S. Krajcik, Mark Guzdial, & Annemarie Palincsar. (1991). Motivating project-based learning: Sustaining the doing, supporting the learning. Educational Psychologist, 26(3-4), 369-398, DOI: 10.1080/00461520.1991.9653139
Salavert, R. (2015). An apprenticeship approach for the 21st century. International Journal of Education Leadership and Management, 3(1), 24-59.
Samakoses, V. (2010, February 4). New generation teachers. Matichon Press, 3. [in Thai]
Semen, B., & Cacioppo. (2009). Mirror neurons. Chicago: Chicago University Press.