ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความยืดหยุ่นทางจิตใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 150 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามจำนวน 50 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งประกอบด้วย 6 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยการเห็นคุณค่าในตนเอง (X1) ปัจจัยการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (X2) ปัจจัยการมองโลกในแง่ดี (X3) ปัจจัยการปรับตัว (X4) ปัจจัยการเผชิญปัญหา (X5) และความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Y) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธี Enter โดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวมทั้งสิ้น 5 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยการมองโลกในแง่ดี (X3) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.28 ปัจจัยการเผชิญปัญหา (X5) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.25 ปัจจัยการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (X2) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.25 ปัจจัยการปรับตัว (X4) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.17 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยการเห็นคุณค่าในตนเอง (X1) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.12 และ 2) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ ดังนี้
Y = -0.12 + 0.28X3* + 0.25X5* + 0.25X2* + 0.17X4* + 0.12X1
สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Z = 0.24Z3* + 0.24Z5* + 0.20Z2* + 0.18Z4* + 0.10Z1
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Chulakarn, N., & Chaimongkol, N. (2021). Factors affecting resilience among early adolescents living in homes for children. Children and Youth Services Review, 120, Article 105737. DOI: 10.1016/j.childyouth.2020.105737
Damsanuan, C. (2017). The Factors as Predictors of Resilience Quotient of Adolescents in Nongki District Buriram Province. Research and Development Health System Journal, 15(1), 19-28.
Department of Mental Health. (2020). Turn bad into good, RQ mental health power (4th ed.). Bangkok: Beyond Publishing.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Jethwani, L., & Subhashini, R. (2019). Influence of Resilience and Self-esteem among Undergraduate Students in Chennai, India: An Exploratory Study. International Journal of Management Research and Social Science, 6(3), 13-16.
Nakhon Sawan Rajanagarindra Psychiatric Hospital. (2021). How to adapt to get through this difficult time. Retrieved September 14, 2023, from https://nph.go.th/?p=5675
Para, S. (2012). Factors Affecting the Resilience of Adolescents in Bangkok Metropolis (Master thesis). Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Plittapolkranpim, P. (2022). Self Resiliency Skill, Life skills to overcome future crises. Retrieved September 13, 2023, from https://thaipublica.org/2022/01/future-thailand-preampaphatpalittapongranpim/
Seligman, M. (1998). Learned optimism. New York: Simon & Schuster.
Soikaew, S. (2010). Factors Affecting Adversity Quotient of Mathayom Suksa 3 Students in Khonkaen Educational Service Area 3 (Master thesis). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University.
Srisa-ard, B. (2013). Preliminary research (10th ed.). Bangkok: Suviriyasan.
Visetdonwai, G. (2021). Emotional skills that modern teachers must teach when the goal is not just happiness, but to rise and be on the path of life. Retrieved September 14, 2023, from https://www.educathai.com/knowledge/articles/528
Wahyudi, A., & Partini, S. (2017). Factors Affecting Individual Resilience. Atlantis Press, 173, 21-22.