พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำรงอยู่และพฤติกรรมของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ขั้นแรกต้องพอเพียงที่ตนเองก่อน ยึดหลักพึ่งตนเอง คือพยายามพึ่งตนเองให้ได้เสียก่อน ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย ดำเนินชีวิตต้องอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง โดยคำนึงถึงหลัก 3 ประการ ดังนี้ 1. ความพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล 3. การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีและแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นต้องการความมั่นคงอย่างยั่งยืนในชีวิตต้องการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ในครอบครัว ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว เพื่อพัฒนารายได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม รักษาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ต้องการภูมิใจแบบพอเพียง คือภูมิใจที่มีปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตมีที่อยู่อาศัย อาหาร มีเครื่องนุ่งห่มมียาสมุนไพรรักษาโรค สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ทุกคนประกอบอาชีพด้านการเกษตรแบบผสมผสานอย่างภาคภูมิใจโดยเกิดจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นแรงผลักดันให้ชุมชนมีพฤติกรรมดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเหมือนเข็มทิศบอกทางและชี้เป้าหมายในการดำเนินชีวิต
Article Details
References
กาญจนา บุญยัง และคณะ. (2552). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การบริหารส่วนตําบล. กรุงเทพฯ:สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. (2552). คำพ่อสอน : ประมวลพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง/มูลนิธิพระดาบส. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.
พระสมบูรณ์ ปูรณปุญโญ. (2550). บทบาทของพระสงฆ์วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ในการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ศูนย์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียง ตําบลแม่สาบ อําเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นามมีบุคสพับลิเคชั่นส.
รัตนา แก้วเสน. (2554). การวางแผนระดับท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่สมดุลด้วยตารางวางแผนเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงกับการดําเนินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยพัฒน์
สรรเสริญ วงศแชอุ่ม. (2544). เศรษฐกิจพอเพียง : พื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวัฒน วัฒนวงศ์. (2544). จิตวิทยาการเรียนรูวัยผูใหญ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรวิทย์ แอวิรุทธแวรกุล. (2552). รูปแบบการน้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในภาคประชาชน ชุมชน เอกชน และภาครัฐ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 46(2), 22-32.