การสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ชบาไพร ชัยหาเนตร์
ภักดี โพธิ์สิงห์

บทคัดย่อ

การสร้างสัมมาชีพชุมชน สนับสนุนการทำงานทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ เพื่อให้มีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นรูปแบบเดียวกัน ส่งผลให้การสร้างสัมมาชีพชุมชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น การดำเนินการจึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้นั่นคือในหมู่บ้านในประเทศไทยโดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว เช่น ทำนาได้ผลผลิตสูง ทำสวนเก่ง หรือทางช่างแกะสลัก และการแปรรูปอื่น ๆ ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอนการนำเสนอให้กับคนเก่งเหล่านี้ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหรือรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพหมู่บ้านเมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติแล้วขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้เลียงตนเองและครอบครัวได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิตสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. ม.ป.ท..
จรูญรัตน์ หิรัญชุฬหะ. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการวนศาสตร์ชุมชนที่สูงในลุ่มน้ำห้วยองเผาะ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวนศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จีรพรรณ กาญจนะจิตรา. (2538). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย: ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎีและกรณีตัวอย่าง. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชมภารี ชมภูรัตน์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฏหมาย, 2(2).
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2528). การศึกษากับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศ กรมการฝึกหัดครู.
ณิชา เกษจำรัส. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลท่าแลง จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์. (2531). การแปลงนโยบายให้เป็นแผนและโครงการ. เอกสารทางวิชาการประกอบการบรรยายแก่นักศึกษาวิทยาลัยการทัพบก.
บัณฑร อ่อนดำ. (2541). รูปแบบการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันยาเสพติดให้โทษ.
ปนัดดา สุขเกษม. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พัฒน์ บุณยรัตพันธ์. (2517). การสร้างพลังชุมชนโดยกระบวนการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัดบางกอกบล็อก.
วรเดช จันทรศร และลิขิต ธีรเวคิน. (2530). การนํานโยบายไปปฏิบัติในระบบราชการไทย. ม.ป.ท..
พจน์ แสงเงิน. (2546). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน:ศึกษากรณีชุมชนแผนดินทองคอยรุตตั๊กวา. คณะมนุศาสตร์และสังคมศาสตร์สถาบันราชภัฏพระนคร.
สุพัตรา รักการศิลป์, ปิยาภรณ์ศิริภานุมาศ, และ สาธิต ผลเจริญ. (2547). บทบาทของผู้นําที่มีต่อกระบวนการจัดการความรู้วิสาหกิจชุมชน ที่ประสบความสำเร็จภายใต้โครงการ สินค้าประเภทหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว. ว.มรม. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557.
สุเมธ ทรายแก้ว. (2536). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ:ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหา บัณฑิตสาขาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แสงดาว น้ำฟ้า. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.