ศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของหลวงปู่ริม รตนมุนี วัดอุทุมพร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระมหาชาญ อชิโต, พระราชวิมลโมลี, ดร.ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

บทคัดย่อ

            วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาชุมชนในพระพุทธศาสนา 2)  เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน 3)  เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของหลวงปู่ริม รตนมุนี วัดอุทุมพร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า


              1) การพัฒนาชุมชนในพระพุทธศาสนา สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาจิต รวมถึงการพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสุขภาพจิตในชนบทหลายแห่งพระสงฆ์ได้เป็นผู้นำในการพัฒนาและวัดเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาหลักธรรมในการพัฒนาได้แก่ ภาวนา 4 คือ กายภาวนา การพัฒนากาย ศีลภาวนา การพัฒนาศีล จิตตภาวนา การพัฒนาจิต และปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญาพระสงฆ์เป็นผู้นำชาวบ้านในชุมชนช่วยกันพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นเจ้าอาวาสผู้มีหน้าที่บริหารและปกครองวัด, เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดชาวบ้าน การพัฒนามุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงในตัวมนุษย์รวมถึงศักยภาพของมนุษย์ด้านความรู้ความสามารถของประชาชนในชุมชน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการช่วยเหลือตนเอง


              2) การพัฒนาชุมชน  ของพระสงฆ์กับชุมชน มีความเกี่ยวข้องกัน ต่างก็พึ่งพากันและกัน จะแยกออกจากกันไม่ได้  การพัฒนาชุมชนจึงเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เสริมสร้างคุณภาพจิตให้ประชาชน พระสงฆ์จะถูกกำหนดบทบาทหน้าที่ที่พึงจะเป็น การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา  การพัฒนาชุมชนด้วยการสงเคราะห์ เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เพื่อให้มีความสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ตามภาระกิจของคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน และระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ได้กล่าวถึงการศึกษาสงเคราะห์ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือ เกื้อกูลแก่เด็ก และเยาวชนของชาติ ทั้งด้านการศึกษา และการอบรม การให้ที่อยู่อาศัยและอาหาร ทำให้เยาวชน มีความอบอุ่นและมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ


          3) หลวงปู่ริม รตนมุนี เป็นเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์และประชาชนเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก เป็นผู้นำในการพัฒนาวัด พัฒนาชุมชน การจะเป็นผู้นำคนได้ ต้องมีความรู้ คือรู้คิด รู้ทัน รู้ทำ และรู้จักบริหาร และพัฒนาคนโดยสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อมเรียกว่า ป่าชุมชนคีรีวงกต ประสานแนวทางศาสนธรรมกับประเพณี ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ทำป่าชุมชนผืนแรกชื่อว่าป่าชุมชนคีรีวงคตในตำบลทุ่งมน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงสภาพเดิม สร้างผืนป่า รักษาธรรม พัฒนาภายใน พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา  พัฒนาภายนอก ด้วยการสร้างวัตถุ มีกุฏิ ที่พักอาศัยของพระสงฆ์ สามเณร สร้างสะพาน ตัดถนน สร้างโรงพยาบาล และโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2525). สังคมวิทยาศาสนา. กรุงเทพมหานคร : แพร่วิทยา.

นันทิยา หุตานุวัตร และคณะ. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารจัดการชุมชน. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระครูปลัดเถรานุวัตร (สุเทพ สุเทวฺเมธี). (2561). พระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. ปีที่ 14 ฉบับที่ 3.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง.

________. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายโรงพิมพ์บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2516). สารานุกรมศัพท์ทางสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: แพร่วิทยา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น จำกัด (มหาชน).

ลือชา ธรรมวินัยสถิต. (2539). มนุษย์กับสังคม. เพชรบุรี : ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2551). พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ 14. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรมการพิมพ์.