ปราภวสูตร: คำสอนในพระพุทธศาสนาบ่งบอกพฤติกรรมความเสื่อมของบุคคล

Main Article Content

พระเทพ โชตฺตินฺธโน (ถาจ)
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปราภวสูตร: คำสอนในพระพุทธศาสนาบ่งบอกพฤติกรรมความเสื่อมของบุคคล เนื้อหาบทความที่นำมาเขียนเน้นการสืบค้นข้อมูลเอกสารวิชาการเป็นหลัก แล้วนำเสนอข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


          ปราภวสูตรเป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาบ่งบอกพฤติกรรมความเสื่อมของบุคคล คือ การขาดสาเหตุที่ของความเสื่อมเกิดจากการขาดสติสัมปชัญญะ ปราภวสูตร เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเพื่อเตือนสติต่อพุทธบริษัทไม่ให้ประพฤติความชั่ว ทำแต่ความดี ส่งเสริมความถูกต้องให้เกิดต่อสังคมโดยได้ตรัสหลักธรรมชื่อว่าปราภวสูตร คือ 1) ผู้เจริญใคร่ธรรม ผู้เสื่อมชังธรรม 2) คนที่มีอสัตบุรุษเป็นที่รัก 3) คนผู้ชอบหลับอยู่เสมอ 4) ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่ชรา 5) ผู้กล่าวมุสาวาท 6) ผู้มีทรัพย์มาก ไม่รู้จักการแบ่งปัน 7) ผู้ชอบดูหมิ่นญาติของตน 8) ผู้ชอบล้างผลาญทรัพย์สมบัติที่ตนหามาได้ 9) คนผู้ไม่ยินดีภรรยาของตน 10) ชายแก่ได้หญิงสาววัยรุ่น 11) แต่งตั้งหญิงหรือชายผู้เป็นนักเลงให้เป็นใหญ่ 12) คนผู้เกิดในขัตติยตระกูล มีโภคะน้อย แต่มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ปรารถนาจะครองราชย์


            ความเสื่อมที่ปรากฏปราภวสูตร 12 ประการ ไม่ควรปฏิบัติตามทุกกรณี เพราะเป็นหลักธรรมบ่งบอกพฤติกรรมความเสื่อของบุคคล ทางกาย วาจา ถ้าปฏิบัติตามจะได้รับความทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นต่อสังคมและครอบครัว ด้วยการกระทำที่ไม่ถูกต้องไร้ศีลธรรม ควรปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องตามหลักคำสอนที่นำเสนอไว้ว่า ผู้รู้ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้ชังธรรมเป็นผู้เสื่อ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). มังคลัตถทีปนี. ภาษาไทยภาค 1. มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย.

คณะกรรมการแผนตำรา. มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561) พระธัมมปทัฏฐกถาแปล

ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 24). มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). ถ้าการศึกษาดี คนต้องมีชีวิตดี ที่งอกงามสร้างสรรค์.

กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.

พระมหาไพโรจน์ ปุญฺญวชิโร. (2559). พจนานุกรมบาลี-ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34).

กรุงเทพฯ: พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

ทันตแพทย์สม สุจีรา. (2559). เกิดเพราะกรรมหรือความซวย. (พิมพ์ครั้งที่ 38). กรุงเทพฯ: ทอมรินทร์

บุ๊คเซ้นเตอร์ จำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. ตถาตาพับลิเคชั่นจำกัด.