การจัดการเรียนการสอนโดยระบบออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

Main Article Content

นิชาภา แก้วขาว
พระครูศรีสุนทรสรกิจ
พระปลัดสุระ ญาณธโร
พระครูสาธุกิจโกศล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการพัฒนาจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีต่อจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ โดยแจกแบบสอบถามนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 รูป/คน วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ พบว่ายังเป็นการเรียนการสอนแบบเดิมคือ เรียนภายในห้องเรียน ส่วนการสอบวัดผลปัจจุบันเป็นการสอบโดยการใช้กระดาษในการทดสอบวัดผล การประมวลผลคะแนนล่าช้าและยังใช้งบประมาณจำนวนมาก ระบบออนไลน์จึงเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนและสามารถรายงานผลการสอบได้อย่างรวดเร็ว

  2. นิสิตที่ได้รับการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑

  3. ระดับความพึงพอใจของการจัดการเรียนการสอนโดยระบบออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ พบว่า ระดับความพึงพอใจประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนการสอนโดยระบบออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ อยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับดีทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยระบบออนไลน์ ด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยระบบออนไลน์ และด้านการใช้งานระบบทดสอบออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2534). เอกสารเพื่อการพัฒนาหนังสืออันดับ 1 การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : การศาสนากรมการศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพกรมศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือประจำชั้นและที่ปรึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤช อินทรโกเศศ. (2538). ศึกษาลักษณะและความสามารถในการให้บริการของโครงการระบบ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กฤช อินทรโกเศศ. (2538). ศึกษาลักษณะและความสามารถในการให้บริการของโครงการระบบ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ใจทิพย ณ สงขลา. (2550). E - Instructional Design. วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอน อิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ชัชสันต์ จันทร์เรืองฤทธิ์. (2559). ระบบประเมินความรูผ่านเครือข่าย (e-Testing) กรณีศึกษาคลังข้อสอบ สนันสนุนการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ.

ชัชสันต์ จันทร์เรืองฤทธิ์. (2559). ระบบประเมินความรู้ผ่านเครือข่าย (e-Testing). กรณีศึกษาคลังข้อสอบสนับสนุนการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2551). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เต็มดวง เจริญสุข. (2532). การบริหารบุคคลภาครัฐ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : B&B.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2537). พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรงเทพมหานครู : เจ้าพระยาการพิมพ.

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2531). การวัดทัศนคติ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภิญโญ สาธร. (2517). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ดีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : เทียนวัฒนาพรินท์ติ่ง.

วลัย อศรางกูร ณ อยุธยา. (2553). หน่วยที่ 2 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. ประมวลชุดสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สังคมศึกษา หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

วิจิตร อาวะกลุ. (2540). การฝกอบรมและพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. สานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเซ็นเตอร์ดิสคัฟเวอรี่จำกัด.

วีรตี วงษอนุสาสน. (2559). การสรางข้อสอบ-แบบสอบถามด้วย Google Form. กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหิดล Content vol.33. (ฉบับที่ 33). ประจำเดือนกรกฎาคม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริวรรณ ศรีหพล. (2543). หน่วยที่ 4 การจัดระบบการเรียนการสอนในวิชาสังคมศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนสังคมศึกษา หน่วยที่ 1- 7. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุคนธ์ ภูริเวทย์. (2542). การออกแบบการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2535). การจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด.

สุรีย์ กาญจนวงศ์. (2541). จิตวิทยากรจูงใจเพื่อการบริหาร. ความคิดพื้นฐานและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์. ในเอกสารประกอบการบรรยาย วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541, 1 – 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ณ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อ้อยทิพย์ ผลเพิ่ม. (2551). เรื่องการสร้างชุดการสอนวิชาพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

เอื้อมพร นาคสุขศรี. (2564). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดินจังหวัดตราด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.