จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
(Publication Ethics)
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ ได้กำหนดแนวปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
2. บรรณาธิการ ต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาบทความอิงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก จากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจนของบทความ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร และไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์และบทความที่พิจารณาไม่ว่ากรณีใด ๆ
3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความและการตีพิมพ์วารสารฉบับนั้น ๆ
4. บรรณาธิการ ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ
5. บรรณาธิการ ต้องมีการตรวจสอบการพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplication) และการคัดลอกผลงานวิชาการ (plagiarism) ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เพื่อป้องกันการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
6. บรรณาธิการ มีระบบแก้ไขข้อผิดพลาดร้ายแรงในบทความและถอดบทความที่พบว่าผิดจริยธรรมการวิจัย และไม่ละเลยเพิกเฉยเมื่อพบข้อผิดพลาดและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1. ในกรณีที่ผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) กับผู้นิพนธ์ หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมารับการพิจารณาตีพิมพ์ รวมถึงข้อมูลของผู้นิพนธ์ แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาของการประเมิน
3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ อิงเหตุผลทางวิชาการ ความใหม่ ความชัดเจน คุณภาพและความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
4. ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญ ๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึงเข้าไปในการประเมินบทความด้วย เพื่อให้บทความเกิดคุณค่าในเชิงวิชาการเพิ่มขึ้น
5. หากผู้ประเมินบทความพบว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของอื่น ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยผ่านการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น ๆ
2. ผู้นิพนธ์ต้องจัดรูปแบบของบทความให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้เขียน”
3. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องเป็นบทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ เกิดขึ้นจากผู้เขียนได้ทำการทดลอง สร้างสรรค์ สังเคราะห์ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานโดยตรง หรือเป็นบทความที่เสนอถึงความคิด หรือหลักการใหม่ที่เป็นไปได้และมีทฤษฎีสนับสนุนอย่างเพียงพอ มีประโยชน์ต่อการศึกษาและการวิจัย
4. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
5. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่ได้คัดลอกผลงานวิชาการ (plagiarism) ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น
6. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่นำมาใช้ และจัดทำรายการอ้างอิงท้าย บทความ
7. ผู้นิพนธ์ร่วมที่มีชื่อปรากฏในบทความ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการเขียนบทความจริง
8. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) (ถ้ามี)