Home
การส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
Where available, URLs for the references have been provided.
The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาตีพิมพ์บทความ
1. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยผ่านการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจาณาของวารสารอื่น
3. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องเป็นบทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ เกิดขึ้นจากผู้เขียนได้ทำการทดลอง สร้างสรรค์ สังเคราะห์ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานโดยตรง หรือเป็นบทความที่เสนอถึงความคิด หรือหลักการใหม่ที่เป็นไปได้และมีทฤษฎีสนับสนุนอย่างเพียงพอ มีประโยชน์ต่อการศึกษาและการวิจัย
4. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือปราศจากการอ้างอิงที่ถูกต้อง
5. ผู้เขียนต้องจัดเตรียมต้นฉบับตามรูปแบบตามข้อกำหนดในการส่งต้นฉบับอย่างเคร่งครัด
6. ผู้เขียนได้แก้ไขความถูกต้องของบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
7. บทความจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากกองบรรณาธิการและการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ ( Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะศาสตร์บทความละ 3 ท่าน
การเตรียมต้นฉบับ
ทางกองบรรณาธิการยินดีรับตีพิมพ์ผลงานวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 15 พอยต์ พิมพ์ด้วย คอมพิวเตอร์ ตัวอักษรสีดำ พิมพ์ในกระดาษขาว ขนาดมาตรฐาน B5 และไม่มีเส้นบรรทัด การตั้งค่าหน้ากระดาษ เว้นขอบบนและขอบซ้าย 3.00 ซม. ขอบล่างและขอบขวา 2.00 ซม. บทความวิชาการ และบทความวิจัย มีความยาว 15 - 20 หน้า ส่วนบทความปริทัศน์ ความยาว 10 - 20 หน้า ยกเว้นบทวิจารณ์หนังสือ ความยาว 5 - 15 หน้า และใช้ระบบการอ้างอิง APA
องค์ประกอบของผลงาน
1. บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ คือ งานเขียนที่มีความน่าสนใจ มีความรู้ใหม่ โดยส่วนประกอบของผลงานมีดังต่อไปนี้
1. 1 ชื่อเรื่อง กรณีเป็นบทความภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1. 2 ชื่อผู้เขียนบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และหน่วยงานที่สังกัด
1. 3 บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250- 300 คำ
1. 4 คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ
1. 5 เนื้อหาในบทความ แบ่งออกเป็น บทนำ บทสรุป ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
2. บทความวิจัย คือ งานเขียนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยส่วนประกอบของผลงานมีดังต่อไปนี้
2. 1 ชื่อเรื่อง กรณีเป็นบทความภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. 2 ชื่อผู้เขียนบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และหน่วยงานที่สังกัด
2. 3 บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250- 300 คำ
2. 4 คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ
2. 5 เนื้อหาบทความวิจัย แบ่งออกเป็น บทนำ วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
3. บทวิจารณ์หนังสือ คือ งานเขียนที่ถ่ายทอดความคิดเห็น โดยนำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นความรู้ ต้องใช้หลักวิชาที่เหมาะสมเพื่อวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อไม่ดี โดยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของหนังสือที่จะวิจารณ์ และเสนอแนวทางแก้ไข โดยผลงานจะต้องมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
3. 1 ชื่อเรื่องบทวิจารณ์หนังสือ
3. 2 ชื่อผู้เขียนบทความ ทั้วภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และหน่วยงานที่สังกัด
3. 3 บทวิจารณ์หนังสือ แบ่งออกเป็น บทนำหรือประเด็นที่จะวิจารณ์เนื้อหา บทสรุป ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ และเอกสารอ้างอิง