การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะความตระหนักการใช้ความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม 2) ส่งเสริมความตระหนักในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับประถมศึกษา ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 210 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม แบบวัดความตระหนักการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนการสอน โดยเก็บข้อมูลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม (STSE) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.50/87.25 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ 80/80 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 2) จากการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาความตระหนักการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนนักเรียน ความตระหนักในการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.00) 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับมาก
Article Details
References
Rachapakdee, K. (2002). Awareness and Performance in Saving Electrical Energy of University Dormitory Students in Bangkok. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. (in Thai).
นฤมล ยุตาคม. (2542). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้โมเดลการสอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม (Science Technology and Society -STS Model). ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 14(3), 69-82.
Yutakom, N. (1999). Creating learning experiences for Science subjects by Science Technology and Society -STS Model. Kasetsart Educational Review, 14(3), 69-82. (in Thai).
รุ่งทิวา กองสอน และ พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2). 50-64.
Kongson, R., & Pankaew, P. (2013). The development learning activities for teaching chemistry subject on Science-Technology-Society and environment approach to promote students’ problem solving thinking skill. Veridian E-Journal, 6(2). 50-64. (in Thai).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
Panit, W. (2012). Learning Creation in 21st Century. Bangkok: Sodsri Saritwong Foundation. (in Thai).
สุดารัตน์ อะหลีแอ. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Ahleeae, S. (2015). Effects of Science, Technology, Society and Environment Approach on Chemistry Achievement, Problem Solving Ability and Instructional Satisfaction of Grade 12 Students. Master of Education in Curriculum and Instruction, Prince of Songkla University. (in Thai).
อัมพวา รักบิดา. (2549). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
Rakbida, A. (2006). Effects of the Science, Technology and Society Approach on Achievement and Problem Solving Ability and Satisfaction of Mathayomsuksa Five Students. Master of Education in Science Education, Prince of Songkla University. (in Thai).
Aikenhead, G. (1988). Teaching Science through a Science-Technology-Society- Environment Approach: An Instruction Guide. Regina, Saskatchewan: University of Regina, SIDRU, Faculty of Education.
Best, J. W. (1997). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.
Pedretti, E. (2005). STSE education: principles and practices in Aslop S., Bencze L, Pedretti E. (eds.), Analysing Exemplary Science Teaching: theoretical lenses and a spectrum of possibilities for practice, Open University Press. UK: Mc Graw-Hill Education.