เงื่อนไขเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและการเมืองต่อการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่น ในการจัดการทรัพยากรร่วม

Main Article Content

นิยม ยากรณ์
สมยศ ปัญญามาก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเงื่อนไขเชิงโครงสร้างทางกฎหมาย และการเมืองต่อการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยภาคประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ได้มีรวมตัวกันการเคลื่อนไหวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้อำนาจผ่านองค์กรท้องถิ่น ใช้กระบวนการกระจายอำนาจและสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ การสร้างกลไกอำนาจในระดับท้องถิ่น อาศัยอำนาจตามข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นการต่อสู้เชิงอำนาจระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในระดับพื้นที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายจากส่วนกลางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรของรัฐที่ด้อยประสิทธิภาพที่ผ่านมา โดยรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง และกำหนดกฎหมาย นโยบายในการควบคุมการจัดการทรัพยากร ทำให้เกิดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรร่วมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยรวมรวบองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

Chaitap, V., (2016). Knowledgebase New Director of Work and New Role of Movement Movement to Resolve Land-Forest Management Issues North. Chiang Mai: Foundation for Sustainable Development North.

วราลักษณ์ ไชยทัพ. (2559) ชุดความรู้ นวัตกรรมการทำงานและบทบาทใหม่ของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ดิน-ป่าไม้ ภาคเหนือ. เชียงใหม่: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ.

Constitution of the Kingdom of Thailand 1997. (1997). Government Gazette. 114: 55, pp. 1-99.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1-99.

Constitution of the Kingdom of Thailand 2007. (2007). Government Gazette. 124: 47, pp.1-127.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-127.

Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (2011). Wildlife Conservation and Protection Act, BE 1992. https://portal.dnp.go.th/Law

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กองนิติกร. (2554). พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2561, จาก https://portal. dnp.go.th/Law

Foundation for Sustainable Development North. (2015). Fill full Community Rights Movement with Natural Resource and Environmental Management Directions. Document for academic stage of the public sector. 7 December 2015. Chiang Mai.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ. (2558). เติมเต็มพลวัติสิทธิชุมชนกับทิศทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เอกสารประกอบเวทีวิชาการภาคประชาชน. 7 ธันวาคม 2558 ณ จังหวัดเชียงใหม่.

Phakamas, R., (2015). Participatory management in the area of Luang-Doi Inthanon National Park. Chiang Mai: Foundation for Sustainable Development North.

รายา ผกามาศ. (2558). Co-management การจัดการแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง-ดอยอินทนนท์. เชียงใหม่: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ.

Pintong, J., (1992). The evolution of land reclamation in the wild. Bangkok: Printing Company Limited.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2535). วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ตุลา.

The Act establishes plans and procedures for the decentralization of local administrative organizations, 1999. (1999). Government Gazette. 116: 114, 1–18.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 114. 1-18.

The Act on the Proposing of Local Provisions, 1999. (1999). Government Gazette. 116: 104, 1–4.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 104 ก. 1-4.

The Act Sub district Administrative Organization Act, BE 1994 (issue 6). (2009). Government Gazette. 126: 84, pp. 1–29.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552. (2552). ราชกิจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนที่ 84 ก. หน้า 1-29.

Yakorn, N., Inequality in land ownership and the new land management. Journal of Political Science and Public Administration, Mahasarakham Rajabhat University, 1(2), 133 – 153. (in Thai).

นิยม ยากรณ์. (2559). ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินกับการจัดการที่ดินแนวใหม่. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(2), 133–153.