รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

วิภวานี เผือกบัวขาว

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในท้องถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) สร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง 399 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลางและ ผู้บริหารระดับปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 9 คน โดยการพรรณนาความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า


1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในท้องถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (gif.latex?\bar{X}=3.28, S.D. = 0.59) รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (gif.latex?\bar{X}= 3.20, S.D. = 0.58) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (gif.latex?\bar{X} = 3.10, S.D. = 0.61) และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (gif.latex?\bar{X} = 3.00, S.D. = 0.54) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด


2. รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาคือ “V – GAT Model” ใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว (Value Tourism) 2) ด้านการเป็นเจ้าบ้านที่ดี (Good Host) 3) ด้านการให้ความสะดวก (Accommodation) และ 4) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (Touring Activity)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cohen, J. M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies: Cornell University.

Chinnachot, P., & Chantuck, T. (2016).Model of Creative Tourism Management in Suan Phueng. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 250 – 268. (in Thai).

ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1). 250 - 268

Department of Tourism. (2015). Asean Tourism Situation. Bangkok: Department of Tourism. (in Thai).

กรมการท่องเที่ยว. (2558). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: กรมการท่องเที่ยว.

Prachuapkhirikan Governor’s Office. (2016). Prachuapkhirikan Development Plan (2018 - 2021). Prachuapkhirikan: Strategy and Information for Provincial Development. (in Thai).

สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ. 2561 - 2564). ประจวบคีรีขันธ์: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.

Thailand Business Information Center.(2014). UNWTO Points Expenses of Chinese Tourists impels the future of Word Tourism Market. สืบค้นเมื่อ 22 March 2558. จาก https://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/chinaeconomic business/result.php?SECTION_ID=464&ID=14819. (in Thai).

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยจีน. (2557). UNWTO ชี้ยอดใช้จ่ายนักท่องเที่ยวจีนช่วยขับเคลื่อนอนาคตตลาดท่องเที่ยวโลก‘โต’. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2558, จาก https://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/chinaeconomicbusiness/result.Php?SECTION_ID=464&ID=14819.

Turton, A. (1987). Participation: Production, Power and Participation in Rural Thailand. Switzerland: United Nations Research Institute for Social Development. (UNRISD).