โครงสร้างอำนาจท้องถิ่นกับกระบวนการสะสมทุนในจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการสะสมทุนที่มีผลต่อโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจากการสัมภาษณ์ และการสังเกตในพื้นที่ของผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลมาประมวล จัดระบบ และวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอโดยพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า มีกระบวนการสะสมทุนของโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นแบบชนชั้นนำในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละยุคสมัย ดังนี้ 1. ระหว่าง พ.ศ. 2398 - 2475 กระบวนการสะสมทุนสัมพันธ์กับอำนาจรัฐส่วนกลาง มีผลประโยชน์จากระบบกินเมืองมีรายได้หลักมาจากภาษีและการค้าในภาคการเกษตรโดยเฉพาะข้าวและน้ำตาลโตนด และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยปลูกตึกพาณิชย์ให้เช่าทำการค้า 2. ระหว่าง พ.ศ. 2475 - 2521 ชนชั้นนำมีกระบวนการสะสมทุน ได้แก่ การทำการค้าหลากหลายประเภท การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ และธุรกิจสีดำซึ่งผิดกฎหมาย โดยมีเครื่องมือในการดูแลธุรกิจคือนักเลง และเป็นการร่วมทุนกับผู้มีอำนาจในรัฐบาล และ 3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 - 2557 ชนชั้นนำมีกระบวนการสะสมทุน ได้แก่การทำธุรกิจทั้งสีขาว สีเทา และสีดำ โดยมีนักเลงและมือปืนเป็นกลุ่มที่ดูแลธุรกิจ และรักษาความปลอดภัยแก่ชนชั้นนำ และ การแสวงค่าเช่าทางเศรษฐกิจโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง
Article Details
References
ชาญใช้จักร, ขุน. (2504). หมื่นศุขประสารราษฎร คดีคนเมืองเพชร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อนุกูลกิจ.
Choosri, M. (2010). Team of Mr. Chat Wattanangkoon, Former Member of Parliament of Phetchaburi, interview. (in Thai).
มะ ชูศรี. (2553). ทีมงานนายชาติ วัฒนางกูร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี, สัมภาษณ์, อ้างถึงใน ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์
Hunter, F. (1953). Community Power Structure: A Study of Decision Makers. Chapel Hill: University of North Carolina Press.
KhamPhet, P. (1997). Network of patronage system: a case study of gunman. Master's thesis Anthropology, Sector of Anthropology, Department of Sociology and Anthropology, Chulalongkorn University. (in Thai).
พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร. (2540). เครือข่ายระบบอุปถัมภ์: ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Mills, C. W. (1956). The Power Elite. Oxford University Press. Domhoff, G. W. (1990). The Power Elite and the State: How Policy Is Made in America. Hawthorne, New York : Aldine de Gruyter.
Praditsil, C. & Krue-nuan, C. (2012). Research report : The power structure and capital formation in Chonburi. (in Thai).
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และ ชัยณรงค์ เครือนวน. (2555). รายงานวิจัย โครงสร้างอำนาจและการสะสมทุนในจังหวัดชลบุรี.
Pichithanarat, N. (2011). Local politicians in Phetchaburi. Bangkok: King Prajadhipok's Institute. (in Thai).
ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2554). นักการเมืองถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
Pongpaijit, P, & Baker, C. (2003). Thailand political economy in era of Bangkok. 3rd edition more updated. Bangkok : Silkworm. (in Thai).
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร : ซิลค์เวอร์ม.
Sa-nhaunsub, C. (March 10, 2014). Mayor of Bangtaboon Municipal. interview. (in Thai).
ชัยยศ สงวนทรัพย์. (2557, 10 มีนาคม). นายกเทศมนตรีตำบลบางตะบูน. สัมภาษณ์.
Srioast,T.(2013). Dynamics of local power Network in Chonburi Province. Ph.D. Dissertation, Department of Thai studies, Burapha University. (in Thai).
ธนณัฏฐ์ ศรีโอษฐ์ . (2556). พลวัตของเครือข่ายอำนาจท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีในยุคของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Sukchareon, P. (February 8, 2014). Former candidate for mayor of Bangtaboon Municipal. interview. (in Thai).
พรสุข สุขเจริญ. (2557, 8 กุมภาพันธ์). อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลบางตะบูน. สัมภาษณ์.
Yansophom, K. (1991). Local traditional authority and the impact of changes in local government in Tesapiban Period. Master of Arts, School of Liberal Arts, Thammasat University. (in Thai).
คมเนตร ญาณโสภณ. (2534). อำนาจท้องถิ่นแบบจารีตและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นในยุคเทศาภิบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.