ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นรูปแบบ Mixed – Methods Research เพื่อหาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะกระดูกบางเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย โดยวิธีการสำรวจข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 30 มิถุนายน 2561 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 188 คน โดยทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและการประเมินผลการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบภายในร่างกาย (TANITA Body Composition Analyzer BC-420MA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจง ความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T - Test ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง
พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.1 มีช่วงอายุต่ำกว่า 60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 45.2 และออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 51.1 พบภาวะความชุกของโรคกระดูกบางในกลุ่มผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 85.6 โดยพบมากสุดในเพศชาย ร้อยละ 93.3 และเพศหญิง 83.2 เมื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว พบว่าเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันก่อนและหลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับน้อยกว่า 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบระดับมวลกระดูก แยกตามเพศพบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันก่อนและหลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับน้อยกว่า 0.05
Article Details
References
Chanapa, P. (2011). Osteoporosis in Men; MoreSerious than Expected. J Public Health, 41(3): 283-294. (in Thai).
พัชรินทร์ ชนะพาห์. (2554). โรคกระดูกพรุนในเพศชายร้ายแรงกว่าที่คิด. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 283-294.
Noola, B., et al. (2016). The Comparison of the Bone Mineral Density of Medical Cadets and Medical Students in Second Year Academic Class of 2011 before and after Training Exercises by Using Quantitative Ultrasound Device. Royal Thai Army Medical Journal, 69(1), 31-37. (in Thai).
บุษบง หนูหล้า และคณะ. (2559). การเปรียบเทียบความหนาแน่นของมวลกระดูกของนักเรียนแพทย์ทหารและนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ปีการศึกษา 2554 ก่อนและหลังจากได้รับการฝึก โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ วัดความหนาแน่นของมวลกระดูก. เวชสารแพทย์ทหารบก, 69(1), 31-37.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2012). The National Economic and Social Development Plan The Eleventh Plan (2012 – 2016). Retrieved 17 June 2017, From http://www.nesdb.go.th/ nesdb_en/Main.php?filename=develop_issue. (in Thai).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 - 2559. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2560, จาก http://www.nesdb.go.th/nesdb_en/main.php?Filename=Develo_issue
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). The National Economic and Social Development Plan The Twelfth Plan (2017 – 2021). Retrieved 17 June 2017, from http://www.nesdb.go.th/nesdb_en/main.php?filename=develop_issue. (in Thai).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน2560, จาก http://www.nesdb.go.th/nesdb_en/main.php?filename=develop_issue
Prasertthai, P., et al. (2010). Effect of A Home - Based Moderate Intensity Exercise on the Reduction of Blood Pressure in Persons with Prehypertension. Thai Journal of Nursing Council, 25(4), 80-95. (in Thai).
ปุณยวีร์ ประเสริฐไทย และคณะ. (2553). ผลของการออกกำลังกายขนาดความหนักปานกลางที่บ้านในการลด ความดันโลหิตของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง. สภาการพยาบาล, 25(4), 80-95.
Park, S. K., et al. (2003). The effect of combined aerobic and resistance exercise training on abdominal fat in obese middle-aged women. J Physiol Anthropol Appl Human Sci, 22(3), 129-135.
Tully, M. A., Cupples, M. E., Chan, W. S., McGlade, K., & Young, I. S. (2005). Brisk walking, fitness, and cardiovascular risk: a randomized controlled trial in primary care. Prev Med, 41(2), 622-628. doi:10.1016/j.ypmed.2004.11.030