การศึกษาขั้นตอนการปรับตัวของผู้ปกครองของคุณแม่วัยใสใน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กันย์ธนัญ สุชิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปรับตัวของครอบครัว ของคุณแม่วัยใสในจังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การปรับตัวของครอบครัวของคุณแม่วัยใส มี 3 ระยะ คือ 1) ระยะตรึกตรอง ในระยะนี้ ครอบครัวของผู้ปกครองมีความวิตกกังวลกับทุก ๆ เรื่อง เป็นระยะที่มีความยากลำบากในการก้าวผ่าน โดยขั้นตอนหลัก ๆ ที่ผู้ปกครองของคุณแม่วัยใสใช้ตั้งรับกับปัญหาในระยะนี้คือ การเตรียมตัวการเตรียมใจ และการตั้งรับ 2) ระยะตระเตรียม ระยะนี้ ผู้ปกครองของคุณแม่วัยใส จะต้องเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างก่อนที่คุณแม่วัยใสจะคลอด ต้องยอมรับและเข้าใจ การตั้งครรภ์ของคุณแม่วัยใส ซึ่งระยะนี้ ผู้ปกครองของคุณแม่วัยใสจะมีการพา ไปฝากครรภ์ และเตรียมคุณแม่วัยใสให้พร้อมต่อการเป็นแม่ และดูแลในทุก ๆ ด้านระหว่างตั้งครรภ์ วางแผนเรื่องค่าใช้จ่าย และพูดคุยกับผู้ปกครองของฝ่ายชายให้มาสู่ขอ เพื่อลดความกดดันจากสังคม และ 3) ระยะตั้งต้น เป็นระยะที่ ผู้ปกครองของคุณแม่วัยใส ได้เจอกับสมาชิกใหม่ของครอบครัว และเมื่อเห็นหน้าหลาน ได้ใกล้ชิดและเลี้ยงดู จึงก่อให้เกิดความรัก ความเอ็นดู และความผูกพัน และทำให้ยอมรับกับสถานะใหม่ของครอบครัวได้ง่ายขึ้น ยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ง่ายขึ้น เป็นการเริ่มต้นของครอบครัวใหม่นั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Barnes, G. M., Farrell, M. P., & Banerjee, S. (1994). Family influences on alcohol abuseand other problem behaviors among black and white adolescents in a general population sample. Journal of Research on Adolescence, 4(2), 183-201

Faculty of Nursing. (2012). Unit 7 Person-center nursing: Theory, application and practice. Handout of Nursing Theory. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). หน่วยที่ 7ทฤษฎีและแนวทางประยุกต์สู่การปฏิบัติ: ทฤษฎีเน้นผู้รับบริการ.เอกสารประกอบการสอนรายวิชา Nursing theory.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Intawong, J. (2008). The opinion of unintended pregnant women towards gender and sexuality. Master Thesis in Women, Gender and Sexuality Studies. Thammasat University. (in Thai).

จรัฏภรณ์ อินทะวงศ์. (2552).การศึกษาความคิดเห็นของสตรีที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรที่มีต่อประเด็นวิถีตามเพศและเพศวิถี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Phoodaangau, B. (2013). Self-modification to mother: A process of maternity adaptation of unexpectedly pregnant students. Ph.D. Dissertation in Nursing, Burapha University. (in Thai).

บุญมี ภูด่านงัว. (2556). การปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อเป็นแม่: กระบวนการของการเป็นมารดาในนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Taneepanichskul, S. (2007). Pregnancy in adolescents: Health problems of adolescents in next century. Journal of Health Research, 21(2), 81-86. (in Thai).

สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล. (2550). การตั้งครรภ์วัยรุ่น:ปัญหาของอนามัยวัยรุ่นในทศวรรษหน้า. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์. 21(2), กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต. 81-86.

Uratanamanee, S. (2016). Roy Adaptation theory. Handout of Adaptation in nursing. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai).

สุจิตรา อู่รัตนมณี. (2559). ทฤษฎีการปรับตัวของรอย.เอกสารประกอบการสอนการปรับตัวในการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.