การสะท้อนเชิงสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความสามารถในการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม ด้านการยั้งคิดและควบคุมแรงปรารถนาของตน เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา ในเด็กระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา 2) เพื่อศึกษาการเลี้ยงดูของครอบครัวและการสอนในโรงเรียนเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา ในเด็กระดับประถมศึกษา ที่สัมพันธ์กับการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม ด้านการยั้งคิดและควบคุมแรงปรารถนาของตน และ 3) เพื่อเสนอแนวการเลี้ยงดูในครอบครัวและการสอนในโรงเรียนเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา ระดับประถมศึกษา ที่สัมพันธ์กับการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม ด้านการยั้งคิดและควบคุมแรงปรารถนาของตน เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่โดยการศึกษาเป็นการทำงานร่วมกันกับนักวิจัยในพื้นที่ ในการค้นหา แนวทางการในการส่งเสริมครอบครัว และโรงเรียน โดยใช้แนวทางในการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม ด้านการยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตน อันเป็นการวางรากฐานการพัฒนานักเรียนจากกระบวนการที่เกิดจากภายในตัวของผู้เรียนโดยใช้การเลี้ยงดูของครอบครัว การอบรมสั่งสอนในโรงเรียน และการสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ 1) ผู้นำชุมชนบ้านหนองหนองหัวช้าง จำนวน 11 คน 2) ครัวเรือนในชุมชนบ้านหนองหัวช้าง จำนวน 45 ครัวเรือน และ 3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง จำนวน 36 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนาบริหารการรู้คิดอารมณ์ และพฤติกรรม ด้านการยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตน เป็นการวางรากฐานการพัฒนานักเรียนจากกระบวนการที่เกิดจากภายในตัวของนักเรียน ด้วยการเลี้ยงดูของครอบครัว การอบรมสั่งสอนในโรงเรียน และการสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อม การบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรมของนักเรียนให้ประสบความสำเร็จควรเริ่มจากการคิดที่ยืดหยุ่น และพฤติกรรมที่ยืดหยุ่นของนักเรียน การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมของนักเรียนจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการเรียนและการทำงาน
Article Details
References
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะทางสมองด้วยการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: รักลูกบุ๊ค.
Jirawatkul, S. (2015). Integration Model for Prevention and Dealing with Teenage Pregnancy.Thai Journal of Nursing Council, 30(2). 5-19. (in Thai).
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2558). รูปแบบการบูรณาการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น. วารสารสภาการพยาบาล, 30(2). 5-19.
Jutapakdeekul, N. (2015). Document of Lecture in EDUCA 2015 Educational Festival for Teaching Professional Development, 8th,14 October 2015 at Impact Forum (Hall9) Muangtongtani, Pratoomtani Province. (in Thai).
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2558). เอกสารประกอบการบรรยาย EDUCA 2015 มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 8 วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม (Hall 9) เมืองทองธานี จังหวัดปทุมธานี.
Sangsawang, T. (2016). Development of Indicator in Executive Function For Primary School Children. BU Academic Review, 15(1), 14-28. (in Thai).
ฐาปณีย์ แสงสว่าง. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. BU ACADEMIC REVIEW, 15(1). 14-28.
Dawson, P., & Guare, R. (2010). Executive Skills in Children and Adolescents. 2nd et. New York USA: The Guilford Press.
Kaufman, C. (2010). Executive Function in the Classroom. Maryland USA: Paul H. Brookes Publishing.
Moran, S., & Gardner, H. (2007). Hill, Skill, and Will Executive Function from a Multiple-intelligences Perspective. in Meltzer, L. (editor). Executive Function in Education from Theory to Practice. New York: The Guilford Press.
Sam G., & Jack A. N. (Editors). (2014). Handbook of Executive Functioning. New York: Springer.
The Office of National Economic and Social Development Board, and United Nations Population Fund of Thailand. (2013). Motherhood in Childhood Facing in Challenge of Adolescent Pregnancy. Bangkok: United Nations Population Fund.
Witherington, S. J. (2015). The Effects of Self-Talk on Executive Function in the Elementary Setting. A Dissertation submitted to the school of education in partial fulfillment of the requirements for the degree of doctor of education Piedmont College School of Education.