การศึกษาวิเคราะห์ดนตรีพิธีแซนการ์ในฐานะที่เป็นมรดกร่วม ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิเคราะห์ดนตรีพิธีแซนการ์ในฐานะที่เป็นมรดกร่วมระหว่างประเทศไทย กับประเทศกัมพูชา มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) ศึกษาลักษณะทางดนตรี วิเคราะห์บทเพลงในพิธีแซนการ์ ประเทศไทย 2) ศึกษาลักษณะทางดนตรี วิเคราะห์บทเพลงที่ใช้ในพิธีแซนการ์ประเทศกัมพูชา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ดนตรีในพิธีแซนการ์ ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางด้าน มานุษยดุริยางควิทยา (Ethnomusicology) จากข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และนำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์ มีขอบเขตด้านพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย และจังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ขอบเขตด้านเนื้อหาเป็นการศึกษาดนตรีที่ประกอบพิธีแซนการ์แบบดั้งเดิม ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการศึกษา ตอนที่ 1 ผลการศึกษาลักษณะทางดนตรี วิเคราะห์บทเพลงในพิธีแซนการ์ ประเทศไทย พบว่าวงดนตรีที่ใช้เป็นวงกันตรึม มีเครื่องดนตรีประกอบ ปี่อ้อ 1 เลา, ตรัวกลาง 1 คัน, โทน 2 ใบ, ฉิ่ง 1 คู่, ฉาบ 1 คู่, และนักร้องการปรับเสียงเครื่องดนตรีไม่มีระดับเสียงที่แน่นอนแต่ใช้ปี่อ้อเป็นหลักในการเทียบเสียง บทเพลงที่สำคัญประกอบพิธีแซนการ์ จำนวน 8 บทเพลง แต่ละบทมีทำนองหลักเพียงทำนองเดียว ใช้บันไดเสียง 5 เสียง (Pentatonic Scale) ที่ใกล้เคียงกับ เร ไมเนอร์ (D minor) ระดับเสียงที่ต่ำสุดคือเสียง เร และเสียงสูงสุดคือเสียง เร สูง มีการเคลื่อนที่ทำนองขึ้นลงตามบันไดเสียง ประดับและตกแต่งทำนองด้วยการเอื้อนเสียงของเครื่องดนตรีดำเนินทำนองและการขับร้อง มีการซ้ำทำนองและแปรทำนอง ใช้จังหวะฉิ่งสองชั้นและชั้นเดียว อัตราจังหวะ 2/4 ความเร็วตั้งแต่ 40-80 จังหวะต่อนาที มีการใช้จังหวะอิสระแบบการเกริ่น (Non tempo) 2 บทเพลง บทร้องใช้ภาษาเขมร ตอนที่ 2 ผลการศึกษาลักษณะทางดนตรี วิเคราะห์บทเพลงที่ใช้ในพิธีแซนการ์ประเทศกัมพูชา พบว่าวงดนตรีที่ใช้เป็นวงการ์ มีเครื่องดนตรีประกอบ ปี่อ้อ 1 เลา, ตรัวขแมร์ 1 คัน, กระจับปี่ 1 คัน, พิณน้ำเต้า 1 คัน, ตรัวอู้ 1 คัน, โทน 2 ใบ, ฉิ่ง 1 คู่, และนักร้อง การปรับเสียงเครื่องดนตรีไม่มีระดับเสียงที่แน่นอนแต่ใช้ปี่อ้อเป็นหลักในการเทียบเสียง บทเพลงที่สำคัญประกอบพิธีแซนการ์ จำนวน 12 บทเพลง แต่ละบทมีทำนองหลักเพียงทำนองเดียว ใช้บันไดเสียง 5 เสียง (Pentatonic Scale) ที่ใกล้เคียงกับ ฟา ไมเนอร์
(F minor) ระดับเสียงที่ต่ำสุด คือ เสียง ฟา และเสียงสูงสุดคือเสียง ฟา สูง มีการเคลื่อนที่ทำนองขึ้นลงตามบันไดเสียง ประดับและตกแต่งทำนองด้วยการเอื้อนเสียงของเครื่องดนตรีดำเนินทำนองและการขับร้อง มีการซ้ำทำนองและแปรทำนอง ใช้จังหวะฉิ่งสามชั้นและชั้นเดียว อัตราจังหวะ 2/4 ความเร็วตั้งแต่ 60-100 จังหวะต่อนาที บทร้องใช้ภาษาเขมร และตอนที่ 3 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ดนตรีในพิธีแซนการ์ ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา พบว่าเครื่องดนตรีที่ใช้มีลักษณะใกล้เคียงกัน 3 ประการ คือ 1) เครื่องดนตรี เช่น ปี่อ้อ ตรัวกลางกับตรัวอู้ โทนกันตรึมของไทยกับสกวลของกัมพูชา 2) ลักษณะทำนอง การตกแต่งและประดับทำนองด้วยวิธีการเอื้อนเสียงของเครื่องดนตรี ใช้บันไดเสียง 5 เสียง (Pentatonic Scale) 3) วิธีการบรรเลง ระดับเสียงไม่แน่นอน การใช้ภาษาในบทขับร้องเป็นภาษาเขมร
Article Details
References
Plengchai, K. (2018, 26 February). Ban Dong Man, Ko Kho Subdistrict, Mueang District, Surin Province, Thailand. Interview. (in Thai)
โฆษิต ดีสม. (2560, 28 กุมภาพันธ์) บ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย. สัมภาษณ์.
Deesom, K. (2017, 28 February). Ban Dong Man, Ko Kho Subdistrict, Mueang District, Surin Province, Thailand. Interview. (in Thai)
เชิดศักดิ์ ฉายถวิล, มนัญญา นาคสิงห์ทอง และจิรพร อินทรประพงศ์. (2550). การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมในเขตพื้นที่อีสานใต้กับประเทศกัมพูชา: ผ่านเส้นทางช่องสะงำถึงจังหวัดเสียมเรียบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Chaitawil, C., Naksingthong, M., & Intaraprapong, I. (2007). Linking the routes of Khmer civilization tourism in the areas of lower Northeastern past of Thailand and Cambodia: passing the route of Sangam mountain pass to Siammarat province. Bangkok: National Research Council of Thailand. (in Thai)
มันแมน (ម៉ាន់មែន). (2560, 31 ตุลาคม). คุ้มเจรียว ภูมิคนาจ๊ะ เซราะเสียมเรียบ กร็องเสียมเรียบ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา. สัมภาษณ์.
Manman. (2017, 31 October) Ban Khumjariaw Phum Kanaja, Siem Reap Subdistrict, Siem Reap District, Siem Reap Province Cambodia. Interview. (in Thai)
สุกรี เจริญสุข. (2530). ดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
Charoensuk, S. (1987). Ethnomusicology. Bangkok: Ruen Kaew Printing. (in Thai)
สุภางค์ จันทวานิช. (2546). “วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ”. ใน อุทัย ดุลยเกษม (บรรณาธิการ), คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น:สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Chantawanit, S. (2003). "Data Collection Methods in Qualitative Research". In Dulyakasem U. (Ed), The qualitative research manual for development (4th ed.). Khonkaen: Research and Development Institute Khonkaen University. (in Thai)
อัจฉรา ภาณุรัตน์, เครือจิต ศรีบุญนาค, และวิลาสินี ศรีนุเคราะห์. (2537). แซนการ์: ประเพณีแต่งงานพื้นเมืองเขมรอีสานใต้. สุรินทร์: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์.
Panurat, A., Sribunnak, K., & Srinukroh, W. (1994). Sankar: Wedding Ceremony of Khmer Traditional in the areas lower northeastern part of Thailand. Surin: Cultural Center of Surin Province. (in Thai)