การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีเทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

ศรัณย์ เจริญศิริ
สรัญญา จุฑานิล
ณัฐิพงษ์ พัชรพลรักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีเทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ของเทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของเทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีเทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการยอมรับจากสังคมภายนอก มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการชุมชน ด้านทุน ด้านจัดเครือข่ายความร่วมมือ และด้านกิจกรรมที่ต่อเนื่อง และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านจัดสิทธิและอำนาจต่อรองทางการเมือง ตามลำดับ โดยมีข้อเสนอแนะจากการศึกษา พบว่า ชุมชนมีองค์ความรู้ มีภูมิคุ้มกัน ยากต่อการโดนเอารัดเอาเปรียบจากสังคมภายนอกพอสมควร แต่อย่างไรก็ตามขอบเขตอำนาจของชุมชนอาจมีข้อจำกัดในการเรียกร้องผลประโยชน์ที่ชุมชนพึงได้ จึงควรมีการเสริมสร้างความรู้ที่จะช่วยพัฒนาสิทธิและอำนาจต่อรองทางการเมือง อาทิ ความรู้เกี่ยวกับการใช้กฎหมาย หรือการใช้สื่อเทคโนโลยีสาระสนเทศ เพื่อเสริมสร้างอำนาจต่อรองภายนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง. (2551). คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งขาติกับบทบาทที่เกี่ยวข้องต่อเสรีภาพของประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
Chamkajang, K. (2008). National Human Rights Commission of Thailand and roles related to the freedom of people in democratic development. Bangkok: Thammasat University. (in Thai).

ณรัชช์อร ศรีทอง. (2558). กระบวนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Sritong, N. (2015). Creation process of self-reliance and sustainable communities. Bangkok: Odeon Store. (in Thai).

ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Sangkeb, T. (2013). Sustainable development. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House. (in Thai).

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Wasi, P. (1999). Sufficiency economy and civil society. Bangkok: Thai Wattana Panich. (in Thai).

พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2556). ปัจจุบัน ปฏิปักษ์ ปฏิรูป ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การ ปฏิรูปประเทศไทย. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
Petchmark, P. (2013). Present, adversary, reform, the self-managing communities to reform of Thailand. Community Organizations Development Institute (Public Organization). (in Thai).

ยศ สันตสมบัติ. (2542). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Santasombat, Y. (1999). Biodiversity and indigenous knowledge for sustainable development. Chiang Mai: Biodiversity and Indigenous Knowledge Research Center for Sustainable Development Chiang Mai University. (in Thai).

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2532). หลักการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชุมชนประยุกต์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Wiruchnipawan, W. (1989). Principles of community development. Applied community development. Bangkok: Odeon Store. (in Thai).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2558). นโยบายคณะกรรมการสถาบันฯ เพื่อการพัฒนาขบวนองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักสื่อสารการพัฒนา.
Community Organizations Development Institute (Public Organization). (2015). Institute Committee policy for the development of community organizations. Bangkok: Bureau of Communication Development. (in Thai).

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication