การศึกษาตำรับข้าวสงกรานต์ชาวมอญชุมชนศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

จุรีมาศ ดีอำมาตย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำตำรับข้าวสงกรานต์ของชุมชนศาลาแดงเหนือ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยทำการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการสอบถาม ประกอบกับมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นผู้มีความรอบรู้ มีความชำนาญ และประสบการณ์ในเรื่องอาหารมอญ โดยกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างคือชาวมอญที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป และมีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชน โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบอาหารในครัวเรือนมีจำนวนทั้งสิ้น 119 คน ซึ่งมีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25 จำนวน 30 คน โดยเป็นกลุ่มชุมชนมอญดั้งเดิม ซึ่งยังคงความเป็นวิถีชีวิตที่ยึดถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยพื้นฐานแล้วมีการประกอบอาหารภายในครัวเรือน ซึ่งผลการศึกษาตำรับข้าวสงกรานต์ของชุมชนศาลาแดงเหนือ พบว่า ในสำรับข้าวสงกรานต์ที่ชาวมอญในชุมชนนิยมรับประทาน ได้แก่ หมูฝอย แตงโม ไข่เค็ม ปลาป่น หัวผักกาดดองเค็มผัดไข่ กระเทียมดองผัดไข่ ตามลำดับ โดยรับประทานกับข้าวแช่ และน้ำใบเตย เนื่องจากเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมา จัดขึ้นเพียงปีละครั้งในช่วงเดือนเมษายนตรงกับวันสงกรานต์ ซึ่งส่วนใหญ่วัตถุดิบหาได้ง่ายในท้องถิ่น มักประกอบอาหารด้วยตนเอง เพื่อรับประทานในครัวเรือน อีกทั้งการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการประกอบอาหาร ดังนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจัดเป็นสัดส่วนโดยการชั่งตวงวัดให้ได้สูตรมาตรฐาน วิธีการปรุงประกอบ พร้อมเทคนิคการประกอบอาหารในตำรับข้าวสงกรานต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา ปริวันตา, วิชิตา บุญเสริม, อุไลมาศ ทั่งรื่น และจุรีมาศ ดีอำมาตย์. (2560). การศึกษาตำรับอาหารพื้นบ้านชาวมอญชุมชนศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5. หน้า 171-176. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
Pariwanta, C., Bunsroem, V., Thangruen, U., & Deeammart, J. (2017). The Study Set Menu in Mon Cuisine from Mooban Saladaengnur, District Samkhok at Pathum Thani Province. The 5th Academic Science and Technology Conference 2017. 171-176. Bangkok: Siam University. (in Thai)

พัชรินทร์ สมหอม. (2554). ประเพณีปะลองเปิงด้าจ์ก (บุญส่งข้าวแช่) : ความหมาย บทบาท และปัจจัยการดำรงอยู่ในสังคมไทย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามนุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Somhom, P. (2011). Palong Puerndark (Boon Song Khao Chae) Tradition: Meanings, Roles and Factors for Its Continuity in Thai Society. Master of Arts Program in Anthropology. Graduate School, Silapakorn University. (in Thai)

วศินา จันทรศิริ. (2549). พลิกตำนานอาหารพื้นบ้านไทย-รามัญ. กรุงเทพฯ: สุพีเรียพริ้นติ้งเฮ้าส์.
Chandrasiri, V. (2006). The Legend of Thai-Raman Cuisine. Bangkok: Supeeria Printinghouse. (in Thai)

ศรุดา นิติวรการ. (2557). สำรับอาหารมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 15(28), 39-58.
Nitiworakarn, S. (2015). Mon Food Set Menus at Kohkred Community, Nontaburi Province. Journal of Cultural Approach, 15(28), 39-58. (in Thai).