ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่องความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ดาวรถา วีระพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม หลังเรียนครบทุกแผนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชา จรรยาบรรณทางวิชาชีพและกฎหมายด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (SCS106) ในภาคการศึกษาที่ 2/2560 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที แบบ t–test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 85.10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา จงรักษ์ และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 9(2), 96-106.
Jongrak, K., & Nuangchalerm, P. (2016). Improving Learning Achievement and Analytical Thinking of Mathayom Suksa 4 Students Using Social Network with Problem-Based Learning Activities. STOU Education Journal, 9(2), 96-106. (in Thai).

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
Chareonwongsak, K. (2003). Analytical thinking. 3rd. Bangkok: Success Media Co.,Ltd.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 188-203.
KhemmaniAnalysis, T. (2011). Synthesis, Creative and Critical Thinking Skills: Integration In Teaching-Learning Plan.The Journal of the Royal lnstitute of Thailand, 36(2), 188-203. (in Thai).

นฤนาท จั่นกล้า. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง คอนกรูเอนซ์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 76-88.
Junkla, N. (2015). The Education Of Learning Achievement And Group Work Behavior In Congruent For Undergraduate Students Of Mathematics At Phranakhonsi Ayutthaya Rajabhat University By Utilizing Cooperative Learning. Research Journal Phranakhon Rajabhat, 10(1), 76-88. (in Thai).

พนิดา ชาตยาภา. (2560). การพัฒนาการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 119-131.
Chatayapha, P. (2017). The Development For Critical Thinking Of Students In Early Childhood Education Major Based On Problem – Based Learning. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 11(3), 119-131. (in Thai).

พิทยาภรณ์ แก้วพิลากุล และ ลัดดา ศิลาน้อย. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาสังคมศึกษา ส31103 โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(1), 24-32.
Kaewpilakul, P., & Silanoi, L. (2016). The Development of The Ability to Critical Thinking of Grade 4 (M4) Students Course Social Studies S311303 Using Problem Based Learning (PBL). Journal of Education Khon Kaen University, 39(1), 24-32. (in Thai).

ภัทราวดี มากมี. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย, 1(1), 7-14.
Makmee, P. (2011). Problem-based Learning. EAU Heritage Journal, 1(1), 7-14. (in Thai).

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: แอลที-เพรส.
Ragabtuk, W. (1999). Student-centered learning. Bangkok: LT Press.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 6-14.
Panich, V. (2015). 21st Century Skills. Journal of Learning Innovations Walailak University, 1(2), 6-14. (in Thai).

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Laowreandee, W. (2010). Thinking skills instructional models and strategies. 4th. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

ศศิธร จันทมฤก,เลอลักษณ์ โอทกานนท์, เรขา อรัญวงศ์, ประพรรธน์ พละชีวะ, กาญจนา เวชบรรพต และ วราพร อัศวโสภณชัย (2561). รูปแบบการจัดการศึกษาวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0: การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 257-269.
Chanthamaruk, S., Othakanon L., Arunwong, R., Palacheewa, P., Wetbunpot, K., & Atsawasoponchai, W. (2018). Valaya Alongkorn Model For Education 4.0: Creative and Productive Learning. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 12(2), 257-269. (in Thai).

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
Phatthiyani, S. (2008). Educational measurement. Kalasin: Prasanprint.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Office of the National Education, (2003). National Education Act B.E. 1999 (Second National Education Act B.E. 2002). Bangkok: Phrik whan graphic.

อภิชัย เหล่าพิเดช และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่อง ปัญหาทางสังคมของไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 760-761.
LaoPidej, A., & Sirisamphan, O. (2013). The Development Of Learning Achievement And Creative Problem Solving Abilities On Social Problems In Thailand Of Mathayomsuksa 6 Students By Problem-Based Learning Approach. Veridian E-Journal, 6(3), 760-761. (in Thai).

อุษา สารพันธ์,สิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์ และ ชยพล ธงภักดี. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มจากการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ (TAI) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI). วารสารราชพฤกษ์, 10(1), 33.
Sarapan, U., Julsiripong, S., & Tongphakdi, C. (2012). Student' Learning Achievement and Group Behaviors by Team Assisted Individualization Technique (TAI) with Computer Assisted Intruction (CAI). Ratchaphruek Journal, 10(1), 33. (in Thai).

เอกมล บุญยะผลานันท์. (2557). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 2(2), 3-7.
Boonyapalanant, E. (2014). Problem Based Learning. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao, 2(2), 3-7. (in Thai).

Whitney, D. R., & Sabers, D. L. (1970). Improving essay examinations III, Use of Item Analysis, Technical Bulletin 11. Mimeographed. Iowa City: University Evaluation and Examination Service.